“เทคโนโลยีดาวเทียมสุดล้ำ”ตรวจจับวัดค่าขีดความสามารถจัดการ “คาร์บอน”

Loading

“ข้อมูล และสถานการณ์จริง” มีส่วนสำคัญสูงสุดต่อการบริหารจัดการด้านต่างๆ หากเป็นสิ่งที่มองเห็นไม่ว่าจะเป็นการบริหารคน หรือธุรกิจก็ไม่น่าจะยาก แต่เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นแต่สัมผัสได้อย่าง “คาร์บอน” เป็นเรื่องที่มีความท้าทายสูง นำไปสู่การใช้ “เทคโนโลยีดาวเทียม” เพื่อตรวจจับ และวัดปริมาณคาร์บอนเพื่อให้ทราบสถานการณ์แบบเรียลไทม์ก่อนวางแผนทั้งฝั่งการรักษาเครื่องมือดูดซับคาร์บอน และปริมาณการปล่อยคาร์บอนด้วย

เอริค บุลล็อค  หน่วยงานด้านป่าไม้และป่าไม้สหรัฐ(USGS) กล่าวในการสัมมนา “Carbon Accounting : Observation from Space” จัดโดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) หรือ Gistda ว่า  ช่วงปี 2020-2050 พบว่ามาตรการต่างๆ เพื่อดูแลป่าไม้ และการลดผลกระทบจากปัญหานิเวศน์ทางธรรมชาติต่างๆ ได้สร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คิดเป็นมูลค่าได้ถึง 100 ดอลลาร์ต่อคาร์บอน 1 ตัน (tCO2-eq) นั่นหมายความว่า ภาคการเกษตร ป่าไม้ และการใช้ประโยชน์จากที่ดินมีมูลค่าทางเศรษฐกิจทั้งสิ้น ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนี้ได้กล่าวไว้ในรายงานของ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ[ IPCC]

ดังนั้น หากมีข้อมูลเกี่ยวกับป่าไม้ หรือแม้แต่ชีวมวลต่างๆ บนพื้นดินหรือใต้ดิน ก็จะทำให้การจัดการเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเป็นไปได้ ขณะเดียวกันก็ลดผลกระทบจากปัญหาความเปลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศ หรือ Climate Change ได้ด้วย ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสามารถใช้เทคโนโลยีดาวเทียมมาเป็นเครื่องมือเก็บ และประเมินสถานการณ์จริงได้

“กลไกเหล่านี้เป็นเหมือนโลกใหม่ที่จะปรับโฉมการปรับการจัดการป่าไม้ และทรัพยากร รวมถึงการแก้ปัญหาการปล่อยคาร์บอนได้”

สำหรับกลยุทธ์ของ The Global Ecosystem Dynamics Investigation  (GEDI) ได้แก่ การตรวจสอบการจัดเก็บคาร์บอนในป่าจากการเก็บข้อมูลด้วยดาวเทียมจากอวกาศมีข้อตอนดังนี้คือ

1. ใช้ Lidar อวกาศตัวแรกที่มีคุณสมบัติการตรวจจับที่เข้ากันได้กับการสํารวจภาคสนาม
2. GEDI สังเกตโครงสร้างหลังคาโดยการรวบรวม ข้อมูล “รูปคลื่น” มากกว่า 25 เมตร
3. กลยุทธ์การประมาณค่าชีวมวลเบื้องต้นตามการอนุมานตามแบบจําลองไฮบริด

ทั้งนี้ โดยมีกรอบการประมาณการ ซึ่งจะช่วยให้ GEDI ทํานายชีวมวลเหนือพื้นดินที่ระดับภาคพื้นดินได้คือ

1. รัศมีกริด 1 กิโลเมตร
2. พื้นที่ประเทศต่างๆ
3. วางกรอบสำรวจเป็นรูปหลายเหลี่ยม เมื่อได้ข้อมูลแล้วจะปรับเทียบในระดับท้องถิ่น และนำไปสู่การอนุมานแบบไฮบริดเพื่อลดความไม่แน่นอน

เจเน็ต แนคโคนีย์ จากองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา (USAID) กล่าวว่าการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นั้นทาง USAID ได้เข้าไปทำงานในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งทั่วโลกมีป่าเขตร้อนสัดส่วนถึงครึ่งหนึ่ง แต่ก็ถูกทำลายอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ทศวรรษ 1960

“ป่าไม้ขนาดใหญ่สูญหายไปอย่างต่อเนื่อง สถิติชี้ว่าปี 2022 มีป่าไม้ขนาดใหญ่หายไปถึง 75%  และ 2 ใน 3 ของความสูญเสียดังกล่าว เกิดขึ้นจากการตัดไม้ทำลายป่าในพื้นที่ป่าเขตร้อนระหว่างปี 2016  ถึง 2019  โดยมีการกระตุ้นจากการเกษตรเชิงพาณิชย์ และสัดส่วนถึง 75% เป็นการเกษตรแบบผิดกฎหมายด้วย”

ในประเทศที่มีรายได้น้อยการปล่อยมลพิษส่วนใหญ่มาจากการทำการเกษตร ทำให้การทำงานเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนเเปลงทำได้ยาก และขัดแย้งกับการจัดการป่าไม้ และที่ดิน ซึ่งต้องประเมินการทำงานที่สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นควบคู่ไปด้วย

การแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศตามธรรมชาติที่ USAID คือ

1. อนุรักษ์ป้องกันการสูญเสียระบบนิเวศน์ดั้งเดิม
2. จัดการปรับปรุงระบบการผลิต เช่น ฟาร์ม ฟาร์มปศุสัตว์ และป่าทํางาน
3. กู้คืนนําระบบนิเวศน์พื้นเมืองกลับมา

เกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) กล่าวว่าโครงการปลูก และฟื้นฟูป่า และการกักเก็บคาร์บอนในอนาคตให้ได้ 120 ล้านตัน โดยวัดผลการประเมิน Carbon Credit ภาคป่าไม้

ในปัจจุบัน อบก.ได้เปิดเป็นทางเลือกให้สามารถนำเอาเทคโนโลยีขั้นสูงที่เกี่ยวข้องกับดาวเทียมหลายๆ แบบ มาร่วมใช้ประเมินเนื้อไม้ที่เพิ่ม เปรียบเทียบกับ Baseline เดิมได้อย่างถูกต้องแม่นยำ และสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้นได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ขนาดใหญ่ และมีรูปแบบของต้นไม้ใกล้เคียงกัน เพื่อใช้ในการประเมินมีความจำเป็นที่ต้องสอบเทียบความถูกต้องกับวิธีมาตรฐานกลางตามวิธีการคำนวณตามมาตรฐานประเมินคาร์บอนเครดิตด้วย

การนำเทคโนโลยีชั้นสูงมาใช้งานเพื่อจัดการสร้างระบบการจัดการ “คาร์บอน” เป็นอีกทางเลือกที่ช่วยดูแลโลก และเศรษฐกิจให้เติบโตไปควบคู่กัน

แหล่งข้อมูล

https://www.bangkokbiznews.com/environment/1055191


Smart City Thailand : 02 054 7755
Contact us : thunya.b@gmail.com | thunya@securitysystems.in.th

© smartcitythailand 11 โกสุมรวมใจ ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร 10210