บล็อกเชน คืออะไร ? แบบเข้าใจง่าย ทำไมเพื่อไทย ถึงจะใช้เงินดิจิทัล 10,000 บาท

Loading

ไขคำตอบ Blockchain บล็อกเชน คืออะไร ? อธิบายแบบเข้าใจง่าย ทำไมเพื่อไทย ถึงจะใช้กับเงินดิจิทัล 10,000 บาท ให้โปร่งใส

Blockchain บล็อกเชน คือ ระบบเทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลรูปแบบหนึ่งที่อาศัยการจัดเก็บข้อมูลในหลาย ๆ ที่พร้อม ๆ กันแล้วผูกเข้าด้วยกันเหมือนห่วงโซ่ เพื่อป้องกันการเข้าไปแก้ไข จึงกลายเป็นรูปแบบของระบบจัดเก็บข้อมูลระบบหนึ่งที่น่าเชื่อถือสูง (หากไม่มีช่องโหว่)

บล็อกเชน หากอธิบายง่าย ๆ ให้เราจำง่าย ๆ มันเป็นระบบเทคโนโลยีเก็บข้อมูลที่อยู่บนโลกดิจิทัล ลบไม่ได้ แก้ไขไม่ได้ ด้วยการใช้คอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องจดข้อมูลพร้อม ๆ กัน แล้วทุกเครื่องก็จะมาเช็กกันเองว่า จดถูกไหม จดตรงกันไหม ซึ่งบังเอิญว่าคอมพิวเตอร์ที่จดนี้ มีเป็นหมื่น เป็นแสนเครื่อง นั่นแปลว่าถ้าใครจะแอบแก้ไขตัวเลข แอบโกงข้อมูล ระบบจะรู้ทันทีว่ามีความผิดปกติ จึงทำให้รู้ด้วยว่ามาจากใคร มาจากคอมเครื่องไหน ? และคอมที่ใช้จดข้อมูลเหล่านี้ คนเขียนระบบ Blockchain นั้น ๆ ก็กระจายที่ตั้งไว้ในที่ต่าง ๆ ให้คนโกงไปยกเครื่องคอมที่เก็บข้อมูลหนีไม่ได้ด้วย ถึงยกไปก็จะเข้ารหัสนั่นเอง

ดังนั้นพรรคเพื่อไทยจึงอ้างคำว่า Blockchain ในการทำให้นโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท ของตัวเอง ให้โปร่งใส เชื่อถือได้นั่นเอง แต่การทำให้โปร่งใส การใช้งานต้องเป็นไปทั้งระบบด้วย เช่น หากจะบังคับใช้ ต้องใช้ทั้งประเทศ ไม่ใช่แค่หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง เป็นต้น เพราะหากไม่ได้ใช้กับทั้งต้นน้ำและปลายน้ำ โอกาสที่ข้อมูลตั้งต้นจะผิดเพี้ยนก็มีสูง

บล็อกเชน โกงได้ไหม ?

Blockchain นิยมใช้กันเพื่อสร้างความโปร่งใสให้กับระบบ ทั้งภาคการเงิน อย่าง คริปโทฯ ที่ไม่มีธนาคารควบคุมเป็นผู้สร้างความน่าเชื่อถือ ทำให้โอกาสโกง Blockchain ก็จะยากขึ้น เพราะย้อนกลับไป ที่เปรียบเทียบ คอม 1 แสนเครื่อง และบังเอิญมันกระจายอยู่ทั่วประเทศด้วย ดังนั้นการจะไปโกงคอมทั้ง 1 แสนเครื่องพร้อม ๆ กัน จึงยากมาก

แต่ก็ใช่ว่า Blockchain จะโกงไม่ได้ เพราะวิธีที่เราจะโกงบล็อกเชนได้ คือ โกงกันเกิน 51% ของระบบ ซึ่งโอกาสเป็นไปได้ยากมาก อย่างคอม 1 ล้านเครื่องบันทึกพร้อมกัน ถ้าจะโกง ก็ต้องให้คนไปกดคอมเพื่อใส่ข้อมูลปลอมมากกว่า 51,000 เครื่องนั้นเอง

พอมาถึงจุดนี้ พาทุกคนย้อนกลับมาสู่โลกความเป็นจริง ว่า บล็อกเชน มันทำได้มากกว่าแค่เรื่องของการเงิน ต่างประเทศมีแนวคิดในการใช้ระบบนี้ เพื่อสร้างมูลค่าให้กับสินค้าท้องถิ่นของตัวเองด้วย เช่น เนื้อวากิวแท้จากญี่ปุ่น เราจะรู้ได้อย่างไรว่ามันเป้นของแท้ เขาก็มีแนวคิดจะใช้ Blockchain ในการบันทึกการเดินทางของเนื้อก้อนที่มาถึงมือเรา ว่ามันถูกตัดมาจากวัวตัวไหน มาจากฟาร์มในญี่ปุ่นจริงหรือไม่ พอมันเป็นระบบที่แก้ไขไม่ได้ เราก็เชื่อมันและยอมจ่ายสูงเพื่อแลกกับเนื้อวากิวแท้แสนอร่อยนั่นเอง

หากถ้ามาประเทศไทย สวนผลไม้แถว ๆ ระยอง ถ้าเอาระบบนี้มาใช้ เราอาจเพิ่มมูลค่าให้ผลไม้ของเราด้วยคำว่าของแท้ ตรวจสอบได้ด้วยบล็อกเชน ก็เป็นได้

ส่วนการใช้ Blockchain ในนโยบายของรัฐนั้นต้องระมัดระวังมาก ๆ เพราะผู้พัฒนาจะต้องเขียนระบบให้รอบคอบ ไม่เช่นนั้นหากมีช่องโหว่ก็จะถูกแฮกเอาได้ง่าย ๆ

แหล่งข้อมูล

https://www.springnews.co.th/program/digital-life/842967


Smart City Thailand : 02 054 7755
Contact us : thunya.b@gmail.com | thunya@securitysystems.in.th

© smartcitythailand 11 โกสุมรวมใจ ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร 10210