- ฟินแลนด์ เตรียมสร้าง Onkalo โรงงานกักเก็บขยะกัมมันตภาพรังสีใต้ดิน ที่ระดับความลึก 430 เมตร
- โดยเก็บเชื้อเพลิงไว้ในกระป๋องทองแดง แล้วใส่เข้าไปในช่องที่ขุดไว้ในผนังหินแกรนิตของคลังเก็บใต้ดิน จากนั้นทุกอย่างจะถูกปิดผนึกด้วยเบนโทไนต์
- หากโรงงานนี้เสร็จ ฟินแลนด์จะเป็นแรกที่กักเก็บขยะกัมมันตภาพรังสีใต้ดินของโลก
ตั้งแต่เริ่มใช้ “พลังงานนิวเคลียร์” ในช่วงทศวรรษปี 1950 เตาปฏิกรณ์กว่า 400 แห่งใน 31 ประเทศได้ผลิตเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้วประมาณ 430,000 เมตริกตัน และจนถึงขณะนี้ยังไม่มีวิธีการกำจัดเชื้อเพลิงเหล่านี้อย่างถาวร
สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศประมาณการว่า เชื้อเพลิงเหล่านี้ถูกการรีไซเคิลไปแล้วประมาณ 30% ซึ่งนำแร่ธาตุกลับมารีไซเคิลใช้เป็นเชื้อเพลิงใหม่สำหรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ แต่ส่วนที่เหลือจะถูกเก็บไว้ในระบบจัดเก็บชั่วคราว โดยยังไม่ทราบว่าชะตากรรมว่าสุดท้ายแล้วจะลงเอยที่ใด
ปัจจุบันความต้องการใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้น เพื่อใช้สำหรับขับเคลื่อนระบบ AI และศูนย์ข้อมูล แต่ขณะเดียวกันก็ต้องลดการปล่อยคาร์บอนจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล ดังนั้นพลังงานนิวเคลียร์จึงเป็นทางออกที่ดี และหลายประเทศเริ่มชะลอการปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ รวมถึงจะสร้างเพิ่มเติมอีกด้วย ในอนาคตจึงจะมีกากกัมมันตรังสีเพิ่มมากขึ้น
กากเชื้อเพลิงใช้แล้วเป็นสามารถทำลายสุขภาพของมนุษย์ต่อเนื่องอย่างน้อย 10,000 ปี และยังคงกัมมันตภาพรังสีอยู่เป็นเวลาหลายล้านปี สำหรับวิธีที่ดีที่สุดในการกำจัดเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่ใช้แล้ว คือ การนำไปรักษาไว้ใต้ดิน แต่สิ่งปลูกสร้างเหล่านี้จำเป็นต้องสร้างใหม่ทั้งหมด และ “ฟินแลนด์” ได้สร้างคลังใต้ดินเพื่อจัดเก็บกากกัมมันตรังสีโดยเฉพาะ
บนชายฝั่งตะวันตกของฟินแลนด์ เป็นที่ตั้งของ Onkalo โรงงานกักเก็บขยะกัมมันตภาพรังสีแห่งแรกของประเทศ ทางป่าทางตะวันตกเฉียงใต้ของฟินแลนด์ ซึ่งใช้บรรจุเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วจากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 5 เครื่องของฟินแลนด์ โดย Posiva Oy บริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัทพลังงานนิวเคลียร์ มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการกำจัดแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว
คลังเก็บขยะกัมมันตภาพรังสีใต้ดิน ที่ระดับความลึก 430 เมตร โดยจะต้องเก็บเชื้อเพลิงไว้ในกระป๋องทองแดง แล้วใส่เข้าไปในช่องที่ขุดไว้ในผนังหินแกรนิตของคลังเก็บใต้ดิน จากนั้นทุกอย่างจะถูกปิดผนึกด้วยเบนโทไนต์ ทำหน้าที่เป็นตัวกันกระแทกป้องกันการเคลื่อนตัวของชั้นหินเบื้องล่าง
ในช่วงกลางเดือนมีนาคม มีการทดสอบภาชนะทดสอบ 5 ใบ บรรจุสารที่ไม่กัมมันตภาพรังสีถูกปิดผนึกในสถานที่พิเศษเหนือพื้นดินก่อนจะถูกขนส่งไปใต้ดินและจัดเก็บตามอุโมงค์ใต้ดินยาว 70 เมตร เพื่อเป็นการพิสูจน์แนวคิดเบื้องต้นสำหรับกระบวนการจัดเก็บของถังเก็บกากกัมมันตรังสี ดังนั้นหากสร้างคลังเก็บขยะกัมมันตภาพรังสีใต้ดินสำเร็จ ฟินแลนด์จะเป็นผู้นำในการกักเก็บขยะเชื้อเพลิงนิวเคลียร์
โครงการ Onkalo สร้างตามวิธีที่เรียกว่า “KBS-3” ที่พัฒนาโดย Swedish Nuclear Fuel and Waste Management บริษัทจัดการกากกัมมันตภาพรังสี โดย KBS-3 อิงตามหลักการสร้างที่กั้นหลายชั้น ซึ่งจะช่วยรับประกันความปลอดภัยในระยะยาวของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่ใช้แล้ว หมายความว่าหากมีชั้นป้องกันชั้นใดชั้นหนึ่งเสื่อมสภาพ การแยกกากกัมมันตภาพรังสีก็จะไม่ได้รับผลกระทบ
ตอนนี้ Onkalo ใช้ค่าก่อสร้างไปแล้ว 900 ล้านยูโร และคาดว่าต้องใช้เงินอีกประมาณ 4,000 ล้านยูโรเพื่อให้โครงการนี้เสร็จสมบูรณ์ แต่ก็ยังมีบางคนที่ไม่เชื่อว่าโครงการจะเกิดขึ้น และบางคนก็หวังว่าจะไม่เกิดขึ้น คนในท้องถิ่นบางคนไม่เห็นด้วยกับโครงการนี้ ไม่พอใจที่ขยะนิวเคลียร์จะถูกเก็บไว้ใกล้ ๆ ส่วนนักวิจัยยังกังวลว่าภาชนะจัดเก็บ โดยเฉพาะกระป๋องทองแดงอาจการกัดกร่อนที่อาจเกิดขึ้น
ผลการศึกษาของจินชาน แพน ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์การกัดกร่อนที่ KTH Royal Institute of Technology พบว่า มีความเสี่ยงที่ซัลไฟด์ในน้ำใต้ดินที่จะกัดกร่อนทองแดงที่ใช้ในภาชนะบรรจุเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว
กาเรธ ลอว์ ศาสตราจารย์ด้านรังสีเคมีแห่งมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ กล่าวว่า โครงการนี้จะเป็นคลังเก็บเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่ใช้แล้วไปกำจัดด้วยวิธีที่ปลอดภัยและมั่นคง และฟินแลนด์จะก้าวนำหน้าประเทศอื่น ๆ อย่างน้อย 10 ปี ในการกำจัดขยะเชื้อเพลิงนิวเคลียร์
นอกจากฟินแลนด์แล้ว ประเทศต่าง ๆ ก็กำลังดำเนินรอยตามเช่นกัน โดยสวีเดนเตรียมเริ่มดำเนินการสร้างคลังเก็บเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ของตนเองเช่นกัน ซึ่งจะบรรจุเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้วได้มากถึง 12,000 เมตริกตัน คาดว่าจะขยายอุโมงค์ได้กว่า 60 กิโลเมตรเมื่อสร้างเสร็จที่ความลึก 500 เมตร หลังจากวางแผนมา 40 ปี และเพิ่งได้รับใบอนุญาตด้านสิ่งแวดล้อมที่จำเป็นสำหรับการก่อสร้าง
การก่อสร้างอาจเริ่มต้นได้ภายในทศวรรษหน้าและดำเนินต่อไปจนถึงปี 2080 โดยพื้นที่ใต้ดินของที่เก็บขยะแห่งนี้จะขยายออกไปเรื่อย ๆ แต่ก็ยังมีความกังวลเรื่องอันตรายจากการกัดกร่อนของกระป๋องทองแดง ที่อาจทำให้ธาตุที่เป็นกัมมันตภาพรังสีถูกปล่อยออกมาในน้ำใต้ดิน เช่นเดียวกับฟินแลนด์
อีกด้านหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติก แคนาดากำลังวางแผนที่จะสร้างสถานที่จัดเก็บเช่นกัน หลังจากการถกเถียงกันเป็นเวลา 14 ปี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนได้เลือกสถานที่ภายในเมืองอิกเนซ รัฐออนแทรีโอ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนพื้นเมือง Wabigoon Lake Ojibway Nation เนื่องจากสามารถมองว่าเป็นแหล่งลงทุนและงานใหม่
ขณะที่ ฝรั่งเศสและสวิตเซอร์แลนด์ก็ค่อย ๆ มีความคืบหน้าของโครงการเหล่านี้ แม้ว่าส่วนใหญ่จะเป็นการปลดล็อกกฎระเบียบทางราชการ โดยฝรั่งเศสอาจจะเริ่มต้นโครงการได้ในปี 2027 หากมีการคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่สามารถกระทำต่อโครงสร้างเหนือพื้นดินได้
ส่วนสวิตเซอร์แลนด์ เลือกสร้างคลังเก็บขยะกัมมันตภาพรังสีทางตอนเหนือของเมืองซูริก เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีดินเหนียวโอปอลีนอัดแน่นมากเป็นพิเศษ ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งสำหรับใช้เป็นภาชนะเก็บวัสดุกัมมันตภาพรังสีในระยะยาว คาดว่าจะมีการอนุมัติขั้นสุดท้ายประมาณปี 2030 ขึ้นอยู่กับการลงประชามติ โดยเริ่มสร้างคลังเก็บขยะนิวเคลียร์ภายในปี 2060
ไค ไมก์กาเนน รัฐมนตรีกระทรวงสภาพอากาศของฟินแลนด์ กล่าวกับ CNBC ว่า “นี่เป็นวิธีแสดงให้เห็นว่าประเทศเล็ก ๆ สามารถแก้ปัญหาหรือความท้าทาย 20 อันดับแรกของมนุษยชาติได้”
ไมก์กาเนนมั่นใจว่าโครงการ Onkalo เป็นวิธีแก้ปัญหาความยั่งยืนของขยะนิวเคลียร์ พร้อมมั่นใจว่าประชากรฟินแลนด์ส่วนใหญ่จะเห็นด้วยกับโครงการนี้ และมองว่าเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สามารถใช้เป็นต้นแบบให้ทุกประเทศทั่วโลก
แหล่งข้อมูล