เมื่อวานนี้ (จันทร์ที่ 29 มี.ค.) มีพิธีลงนามสัญญาการก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและจีน พัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ – หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา) จำนวน 3 สัญญา ประกอบด้วย…
– งานโยธา ช่วงนวนคร-บ้านโพ วงเงินก่อสร้าง 11,525,350,500 บาท
– งานโยธา สำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย วงเงินก่อสร้าง 6,573,000,000 บาท และ
– งานโยธา ช่วงพระแก้ว-สระบุรี วงเงินก่อสร้าง 9,428,999,969.37 บาท
ระยะเวลาก่อสร้างแต่ละสัญญา 1,080 วัน รวมวงเงินก่อสร้างทั้ง 3 สัญญา 27,527,350,469.37 ล้านบาท
โครงการความร่วมมือนี้ เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์สำคัญในการเชื่อมไทยสู่โลก เชื่อมไทยไปสู่ สปป.ลาว และจีน เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 หรือที่เรียกว่า Belt and Road Initiative เชื่อมภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปถึงยุโรปด้วยรถไฟ
ก่อนหน้านี้ (28 ต.ค. 63) มีการลงนามระหว่างไทยและจีนไปแล้วในสัญญาจ้างงานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร
เมื่อก่อสร้างเสร็จ คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2569 จะเป็นการยกระดับมาตรฐานรถไฟไทย เชื่อมโยงโครงข่ายระบบรางของไทย อาเซียน และจีนให้เป็นหนึ่งเดียว
“การลงทุนครั้งนี้เป็นการลงทุนเพื่อวางรากฐานความมั่นคงด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของไทยในระยะยาว สนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ของภูมิภาค สร้างโอกาสใหม่ทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว กระจายรายได้ นำความเจริญสู่ท้องถิ่นตลอดแนวเส้นทางรถไฟของโครงการ” ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าว
เครดิต.China Report ASEAN-Thailand
แหล่งข้อมูล
https://www.facebook.com/Goodwillofficial/posts/1673745652810802