Telehealth คือ การให้บริการด้านสาธารณสุขทางไกล ทำให้การรักษาพยาบาลสามารถเข้าถึงประชาชน โดยดำเนินการผ่านช่องทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม
ซึ่งหากมองในมุมของธุรกิจนั้นธุรกิจ Healthcare ถือว่ามีการเติบโตอย่างคล้องกับกระแสการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล โดยเฉพาะในช่วงภาวะ COVID-19 นั้น การให้บริการด้านการแพทย์เสมือนจริง หรือ Virtual Urgent Care ถือเป็นการให้บริการที่สร้างรายได้กว่า 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เลยทีเดียว
ซึ่งสถานการณ์ COVID-19 คืออัตราเร่งอันสำคัญที่ทำให้การใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลมีเพิ่มมากขึ้นอย่างก้าวกระโดดและกว้างขวางในทุก ๆ ภาคส่วน รวมถึงพฤติกรรมการใช้บริการด้านการสาธารสุขผ่านอินเตอร์เน็ตก็มีอัตราเพิ่มมากขึ้นหลายเท่าตัว โดยมีอัตราเพิ่มขึ้นจากเดิม 11% ในปี 2019 เป็น 76% ในช่วงการระบาดของ COVID-19
นอกจากนี้การให้บริการด้านการปรึกษาทางการแพทย์ผ่านระบบ Telehealth ยังเพิ่มขึ้นจาก 57% เป็น 64% โดยในสหรัฐได้มีโรงพยาบาลที่เปิดให้บริการทางการแพทย์ผ่านระบบอินเตอร์เพิ่มมากขึ้นถึง 80 แห่ง ในระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือน
และผลสำรวจของ Global Market Insights แสดงให้เห็นว่า สภาพโดยรวมของตลาด Telemedicine ทั่วโลกนั้นมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างสู่ คือในปี 2562 มีมูลค่าของตลาดอยู่ที่ 38,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ในปี 2568 นั้นมีแนวโน้มว่ามูลค่าของตลาดจะเพิ่มขึ้นถึง 135,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐเลยทีเดียว
ซึ่งภายใต้นิยามของ Telehealth นั้นถือเป็นการรวมเอาเทคโนโลยีดิจิทัลหลากหลายรูปแบบเข้ามาไว้ด้วยกัน เพื่อที่จะทำให้การบริการด้านการแพทย์ผ่านอินเตอร์เน็ตเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงยังเป็นการช่วยให้ผู้ป่วยได้มีการปฏิสัมพันธ์ผ่านระบบคัดกรองก่อนที่จะถึงโรงพยาบาล เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถที่จะประเมินความเสี่ยง ลดความหนาแน่นของผู้เข้ามาใช้บริการ และสามารถแนะนำช่องทางในการการรักษาพยาบาลที่เหมาะสม เช่น สำหรับในผู้ป่วยที่ไม่มีความเสี่ยง แพทย์อาจจะแนะนำให้ดูแลรักษาตัวเองที่บ้านด้วยวิธีการที่เหมาะสม โดยไม่ต้องมาพักรักษาที่โรงพยาบาลก็ได้
โดยผู้ที่ได้รับประโยชน์จากระบบ Telehealth มากที่สุด จะเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคประจำตัว เช่น ความดัน เบาหวาน ซึ่งเป็นกลุ่มที่จะต้องได้รับคำปรึกษาจากแพทย์อย่างต่อเนื่อง ด้วยสามารถทำได้ผ่านระบบวิดีโอคอล (Teleconsultation) ร่วมกับการตรวจวัด (Telemonitoring) รูปแบบต่างๆ เช่น การใช้เครื่องวัดความดันที่เชื่อมต่อกับแอปพลิเคชัน และส่งข้อมูลตรงไปยังแพทย์เพื่อให้แพทย์สามารถประเมินผู้ป่วย และให้คำแนะนำได้ในทันที
ประเทศที่มีการใช้ระบบ Telehealth อย่างแพร่หลาย
สำหรับประเทศจีนและสหรัฐ ซึ่งถือเป็นประเทศที่มีอาณาเขตอันกว้างใหญ่ไพศาล การเดินทางไปพบแพทย์นั้นอาจจะเป็นการยากลำบาก โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลซึ่งจะต้องใช้เวลาในการเดินทางมาก จึงทำให้ Telehealth กลายเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหา โดยอุปกรณ์ Telehealth คือตัวกลางสำคัญของการเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต เพื่อให้สามารถใช้ระบบ VDO Call ไปหาแพทย์ พร้อมกับการใช้อุปกรณ์วัดค่าทางการแพทย์ เช่น เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ, วัดความดัน, วัดอุณหภูมิของร่างกาย หรืออุปกรณ์ตรวจช่องหู, จมูก และปาก มาใช้เพื่อส่งข้อมูลทั้งหมดไปให้แพทย์ที่ทำการตรวจประเมินได้แบบ Real Time
ซึ่งได้มีการเปิดเผยข้อมูลจากผู้ให้บริการทางการแพทย์ออนไลน์รายใหญ่ในจีนระบุว่า มีอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ใช้บริการรายใหม่เพิ่มขึ้นถึง 900% เลยทีเดียว ส่วนในสหรัฐอเมริการัฐบาลเอง รัฐบาลก็ได้มีการออกนโยบายสนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงการรักษาแบบ Telehealth เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วและไม่ต้องเดินทางมาที่โรงพยาบาล เพื่อถือเป็นพื้นที่เสี่ยง
ประเทศที่มีศักยภาพด้าน Telehealth
สำหรับในเอเชีย การพัฒนาอุตสาหกรรมด้าน Telemedicine ของไต้หวันถือมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก โดยได้มีการรวมเอาเทคโนโลยี AI และ Big Data เข้ามาทำงานผ่านระบบข้อมูลทางการแพทย์ ทำให้สามารถวิเคราะห์ผ่านภาพถ่าย 3 มิติ โดยมีการนำเอาเทคโนโลยีแวดล้อมอันหลากหลายมาสนับสนุนระบบ Telehealth เช่น กล้องบันทึกภาพเรียลไทม์ (Digital Portable Tonometer) ซึ่งเป็นกล้องถ่ายภาพขนาดจิ๋ว แต่มีประสิทธิภาพสูง เชื่อมต่อกับระบบวิเคราะห์ผลอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้ส่งข้อมูลโดยตรงถึงแพทย์และทำการวิเคราะห์ผลได้อย่างรวดเร็ว
และสำหรับในประเทศไทยเองที่มีทุนเดิมคือมารฐานด้านการแพทย์และสาธารณะสุขซึ่งที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก การต่อยอดโดยนำเอาเทคโนโลยี Telehealth มาปรับใช้ในระบบการรักษาพยาบาล ก็ถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการทำให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพได้แม้จะอยู่ห่างไกล และยังถือเป็นเทรนด์ธุรกิจแห่งอนาคตที่จะมาถึงในไม่ช้า
เรียบเรียงโดย www.smartcitythailand.com
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม www.thairath.co.th
เครดิตรูปภาพ www.pexels.com