นวัตกรรมพลังงานแสงอาทิตย์จากทรินาโซลาร์ สอดคล้องตามแผนพัฒนาพลังไฟฟ้าปี 2567 และนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการเพิ่มปริมาณการใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อความยั่งยืน
ข้อมูลจากแผนพัฒนาพลังไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP) คาดการณ์ว่า การใช้พลังงานหมุนเวียนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นถึง 51% ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจาก 20% ในปีที่ผ่านมา โดยคาดว่าพลังงานแสงอาทิตย์จะมีสัดส่วนประมาณ 70% ของพลังงานหมุนเวียนทั้งหมด ขณะเดียวกันแผน PDP ยังระบุถึงมาตรการตอบสนองด้านโหลด (Demand Response) ซึ่งมีความสำคัญและกระตุ้นให้ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ไฟฟ้าตามราคาที่แตกต่างกันตลอดทั้งวัน โดยมีเป้าหมายเพื่อการเพิ่มศักยภาพในการลดความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด (Peak Demand)
เดฟ หวัง หัวหน้าอนุภูมิภาคประจำเอเชียแปซิฟิกของทรินาโซลาร์ กล่าวว่า ทรินาโซลาร์ ผู้ผลิตภัณฑ์โฟโตวอลเทอิก (PV หรือโซลาร์เซลล์) และระบบกักเก็บพลังงาน ได้มีกลยุทธ์เพื่อจัดการตลาดพลังงานหมุนเวียนในไทย ด้วยเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก ทั้งแผงโซลาร์เซลล์ ชุดปรับมุมเอียงตามแสงอาทิตย์ และระบบกักเก็บพลังงาน เพื่อรองรับการใช้งานในภาคส่วนต่างๆ ในโครงการสาธารณูปโภค การพาณิชย์ อุตสาหกรรม รวมถึงภาคการผลิต การดูแลสุขภาพ และการบริการ ตลอดจนโครงการที่อยู่อาศัย กล่าวได้ว่าทั้งระบบโซลาร์เซลล์และระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ (BESS) ที่จะช่วยนำพาประเทศไทยไปสู่การบรรลุผลสำเร็จด้านพลังงานได้ตามเป้าหมายได้
ซึ่งแผนโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะหรือสมาร์ตกริดของประเทศได้ตั้งเป้าลดความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดลง 1,000 เมกะวัตต์ และเพิ่มอีก 1,000 เมกะวัตต์ ผ่านการใช้แหล่งพลังงานแบบกระจายศูนย์ (DER) ซึ่งรวมถึงระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าขนาดเล็กและระบบกักเก็บพลังงาน (BESS) ซึ่งจะถูกรวมเข้ากับระบบไมโครกริดหรือโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็กเพื่อให้ได้แหล่งพลังงานที่มั่นคง
ในขณะเดียวกัน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ก็กำลังเร่งบุกเบิกการผลิตพลังงานสะอาดด้วยการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับไฟฟ้าพลังน้ำจากเขื่อน โดยมีแผนที่จะพัฒนาโครงการสำคัญอย่างโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดทั้งสิ้น 16 โครงการ มีกำลังการผลิตรวม 2,725 เมกะวัตต์ (MW) ปัจจุบันโครงการนำร่องที่เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี และเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ได้เริ่มดำเนินการแล้วด้วยกำลังการผลิต 45 เมกะวัตต์และ 24 เมกะวัตต์ ตามลำดับ
นโยบายของรัฐบาลไทยมุ่งสู่พลังงานสะอาด เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่รวดเร็วจากทรินาโซลาร์ ได้ช่วยลดต้นทุนพลังงานแสงอาทิตย์อย่างมาก ทั้งแผงโซลาร์เซลล์ ชุดปรับมุมเอียงตามแสงอาทิตย์ และระบบกักเก็บพลังงาน ทำให้ทรินาโซลาร์ มีความพร้อมที่จะช่วยสนับสนุนประเทศไทยในการปลดล็อกศักยภาพและบรรลุเป้าหมายสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์
อย่างแผงโซลาร์รุ่น Vertex N ใช้เทคโนโลยี 2 ด้านเข้าด้วยกัน ได้แก่ เทคโนโลยี n-type i-TOPCon และเทคโนโลยีแผ่นเวเฟอร์ขนาด 210 มม. จนให้กำลังการผลิตที่สร้างสถิติโลก (740.6 วัตต์ ในห้องปฏิบัติการ) และให้ประสิทธิภาพที่สูงขึ้น
นอกจากนี้การจัดหาอุปกรณ์ทั้งหมดจากแหล่งเดียวยังสะดวกต่อการขนส่งและการให้บริการหลังการติดตั้งระบบด้วยโดยจะให้ความสำคัญกับโซลูชันพลังงานแสงอาทิตย์แบบลอยน้ำและระบบกักเก็บพลังงาน เพื่อสนับสนุนโครงการของรัฐบาลไทยในการผลักดันการใช้พลังงานทดแทนในกิจการพลังงานไฟฟ้า
ฟาร์มพลังงานแสงอาทิตย์แบบลอยน้ำกำลังได้รับความนิยมทั่วโลก เพราะใช้พื้นที่ว่างที่มีอยู่มากมายและอาศัยคุณสมบัติความเย็นตามธรรมชาติของน้ำโดยในประเทศไทยนั้น ทรินาโซลาร์ ได้ดำเนินการติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบลอยน้ำขนาด 24 เมกะวัตต์ ที่เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งได้เริ่มใช้งานมาตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2567
โครงการนี้คาดว่าจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 41,000 ตันคาร์บอน และผลิตไฟฟ้าได้ 46 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อปี รองรับการใช้ไฟฟ้าได้ประมาณ 18,000 ครัวเรือน ทั้งนี้แผงโซลาร์ตระกูล Vertex ของบริษัท ยังใช้ในโซลาร์ฟาร์มสำคัญๆ หลายแห่งทั้งในประเทศอินเดีย มาเลเซีย เวียดนาม และสิงคโปร์
การให้การยอมรับโซลาร์เซลล์ในวงกว้าง ตลอดจนการใช้แผงโซลาร์เซลล์และ BESS ในโครงการระดับสาธารณูปโภค ทำให้ทุกภาคส่วนได้รับประโยชน์ในมิติใหม่หลายด้าน โดยการนำแบตเตอรี่มาช่วยกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ส่วนเกินระหว่างวัน และจ่ายพลังงานเมื่อจำเป็น จะช่วยลดการพึ่งพาโครงข่ายไฟฟ้าในช่วงเวลาที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุด
ทำให้โครงข่ายไฟฟ้าบริหารจัดการได้อย่างยืดหยุ่น และสามารถจ่ายพลังงานได้อย่างสม่ำเสมอและมีประสิทธิภาพ เช่น โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบลอยน้ำสามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงกลางวันและผลิตด้วยพลังงานน้ำในช่วงกลางคืน ขณะเดียวกัน BESS ก็จะช่วยกักเก็บการผลิตไฟฟ้าจากทั้งสองแหล่งในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่าน ข้อดีอีกประการหนึ่งก็คือ สามารถรวมกระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ ไว้ในระบบกักเก็บพลังงานได้ด้วย เช่น ที่ผลิตจากพลังงานความร้อนและพลังงานลม และเมื่อใช้งานร่วมกับเซลล์แบตเตอรี่ LFP (Lithium Iron Phosphate) ความจุสูงอย่าง
ดร. ลีโอ จ้าว หัวหน้าฝ่ายระบบกักเก็บพลังงาน ทรินาโซลาร์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่าแบตเตอรี่มีอายุการใช้งานมากขึ้นอยากถามว่าทางแบรนด์มีการพัฒนาเรื่องนี้อย่างไรบ้างในการเพิ่มอายุขัยของโปรดักส์ของการจัดการที่อาจจะเป็นเวสในอนาคต
หลักการแบตเตอรี่ในการชาร์จจะมีการเสื่อมลงเรื่อยๆแบตเตอรี่จะมีขั้วบวกขั้วลบเวลาไฟฟ้าวิ่งระหว่างขั้วบวกขั้วลบระหว่างนั้นจะเสียตัวลิเทียมไปเรื่อยๆจึงเป็นสาเหตุให้แบตเตอรี่ค่อยๆเสื่อมลงอย่างช้าๆ ดังนั้นเทคโนโลยีในการผลิตจึงคิดว่าจะทำอย่างไรให้เยี่ยมสูญเสียออกไปน้อยที่สุดเทคนิคหนึ่งคือการเพิ่มความเข้มข้นเข้าไปที่ขั้วบวกขั้วลบ
แม้เวลาจะผ่านไปที่เชื่อมไอออนสูญเสียไปแต่ก็มีการชดเชยต่อที่ขั้วก็ทำให้การใช้งานยืนยาวมากขึ้น ตอนนี้เทคโนโลยีสามารถใช้ได้ประมาณ 10,000 Cycle 1 Cycle คือการชาร์จและดิสชาร์จ 1 ครั้ง ถ้าใช้วันละ 1 Cycle จะสามารถใช้ได้ 10,000 วันก็หาร 365 วันต่อปีก็จะได้ระยะเวลาประมาณ 20 กว่าปีอีกด้วย
ทั้งหมดนี้เป็นการใช้พลังงานแสงอาทิตย์จากโซลาร์เซลล์และแบตเตอรี่จากนวัตกรรม ทรินาโซลาร์ ในการรองรับใช้พลังงานหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นและเพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
แหล่งข้อมูล