เป็นไปได้ไหม สมุยจะเป็นต้นแบบ Zero Waste

Loading

ถ้าถามทุกคนว่า ที่ไหนมีปัญหาขยะมากที่สุดในประเทศไทย ? นอกจากกรุงเทพมหานครแล้ว เกาะสมุยจะเป็นสถานที่แรก ๆ ที่คนนึกถึง เพราะลำพังสองสามปีที่ผ่านมานี้ ปัญหาขยะบนเกาะสมุยขึ้นเป็นข่าวพาดหัวอยู่หลายครั้ง
  • เดือนตุลาคม ปี 2018 สถานีโทรทัศน์ญี่ปุ่นรายงานข่าวดังไปทั่วโลกเกี่ยวกับบ่อขยะของสมุย เกาะสวรรค์ที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวทั่วโลก แต่มีขยะตกค้างกว่า 300,000 ตัน
  • เดือนเมษายน ปี 2019 เกิดเหตุไฟไหม้บ่อขยะที่สมุย ส่งผลให้เกิดควันพิษจำนวนมาก
  • เดือนสิงหาคม ปี 2020 เกิดเหตุการณ์เรือเฟอรี่บรรทุกขยะล่มระหว่างการขนขยะจากเกาะสมุย ไปบนแผ่นดิน ทำให้ขยะกว่า 90 ตันลอยเคว้งอยู่กลางทะเล บางส่วนเก็บกู้ได้ แต่ยังมีอีกจำนวนมากที่หายไป
และหลังจากเป็นข่าวทุกๆ ครั้งก็จะมีการวางแผนการแก้ไข รับฟังข้อเสนอ หาทางออก …. แต่ก็เหมือนการฉายหนังซ้ำ ขยะกว่า 150 ตันต่อวันก็ยังถูกขนไปกองไว้ที่บ่อขยะตำบลมะเร็ต บริเวณเชิงเขารอวันให้น้ำฝนชะเอาน้ำจากบ่อขยะลงมา และใช้งบประมาณอีกปีละหลายล้านขนขยะไปทิ้งบนบก
หรือความเป็นเกาะจะเป็นปัญหา
ธรรมชาติอย่างนึงของความเป็นเกาะ คือ พื้นที่ที่จำกัด และ การคมนาคม ที่ไม่สะดวก ซึ่งการจัดการขยะจำเป็นจะต้องใช้ทั้งสองอย่าง คือ พื้นที่ฝังกลบที่มีเพียงพอและห่างไกลชุมชน หรือ การขนถ่ายขยะที่สะดวกและต้นทุนไม่สูง ยังไม่รวมถึงสภาพการเป็นแหล่งท่องเที่ยวและชายหาดที่โด่งดังไปทั่วโลก ทำให้ปัญหาขยะทะเลยังตามมาหลอกหลอนเกาะใหญ่อันดับสองของประเทศแห่งนี้ด้วย
แต่ถ้าถามว่าความเป็นเกาะเป็นข้อจำกัดที่ทำให้แก้ปัญหาขยะไม่ได้เลยเหรอ? เรากลับพบว่ามีประเทศมากมายในโลกที่มีสภาพเป็นเกาะ แต่กลับจัดการขยะได้ดีกว่าประเทศบนแผ่นดินใหญ่เสียอีก

ประเทศสิงคโปร์ ที่มีขนาดพื้นที่เป็น 3 เท่าของเกาะสมุย เคยประสบปัญหาขยะล้นเกาะเช่นเดียวกันและนั่นเป็นเหมือนแรงกดดันให้รัฐบาลต้องรีบหาทางออก ด้วยการวางแผนการจัดการระยะยาว นำไปสู่การตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ และนำขี่เถ้าจากการเผามาถมเป็นเกาะใหม่

หรือประเทศอย่างไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ก็ล้วนประสบปัญหาของพื้นที่ในการจัดการขยะจนต้องจริงจังกับการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง และประสบความสำเร็จในหลายๆ ด้าน เพราะฉะนั้นความเป็นเกาะที่มีพื้นที่จำกัด ดูจะเป็นแรงผลักดันให้เกาะสมุยสามารถกลายเป็นเกาะ zero waste หรือ zero landfill ได้เป็นแห่งแรกของไทยเสียด้วยซ้ำ

แต่เซ็นทรัลเริ่มจากการมองดูขยะของธุรกิจในเครือทั้ง แฟมิลี่มาร์ท เซ็นทรัลเฟสติวัล ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต และโรงแรมเซนทารา ว่าแต่ละวันเกิดขยะมากแค่ไหน และพบว่าขยะเศษอาหารเป็นขยะที่มีปริมาณมากที่สุด

ทางเซ็นทรัลจึงเริ่มหาวิธีจัดการ และได้ไปพบกับเครื่องหมักขยะอินทรีย์ให้กลายเป็นแก็สหุงต้มขนาดใหญ่ 2 เครื่องที่ทางเทศบาลสมุยมีอยู่แล้วและยินดีสนับสนุนให้โครงการ เพราะที่ผ่านมาการแยกเศษอาหารป้อนเครื่องยังไม่เพียงพอ อีกทั้งแก๊สที่ก็ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ เซ็นทรัลจึงอาสาจัดแจงเป็นคนกลางเพื่อปลุกเครื่องย่อยนี้ให้กลับมาทำประโยชน์ได้เต็มที่อีกครั้ง
ทางเซ็นทรัลจึงเริ่มหาวิธีจัดการ และได้ไปพบกับเครื่องหมักขยะอินทรีย์ให้กลายเป็นแก็สหุงต้มขนาดใหญ่ 2 เครื่องที่ทางเทศบาลสมุยมีอยู่แล้วและยินดีสนับสนุนให้โครงการ เพราะที่ผ่านมาการแยกเศษอาหารป้อนเครื่องยังไม่เพียงพอ อีกทั้งแก๊สที่ก็ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ เซ็นทรัลจึงอาสาจัดแจงเป็นคนกลางเพื่อปลุกเครื่องย่อยนี้ให้กลับมาทำประโยชน์ได้เต็มที่อีกครั้ง
 
โดยนำเครื่องย่อยเศษอาหารไปตั้งไว้ที่โรงเรียนเทศบาล 1 วัดละไม และ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จากนั้นธุรกิจในเครือเซ็นทรัล เช่น ร้านแฟมิลี่มาร์ท ก็ทำการแยกขยะอินทรีย์ที่เกิดขึ้นในร้าน เตรียมใส่ถังไว้ให้ทุกวัน และทำการลำเลียงไปที่เครื่องหมัก
เครื่องหมักจะทำการย่อยสลายขยะอินทรีย์โดยไม่ใช้ออกซิเจนเกิดเป็นแก๊สมีเทน แก๊สเหล่านี้จะไหลไปตามท่อที่ต่อไว้ ส่งไปยังโรงครัวของโรงเรียน เพื่อประกอบอาหารกลางวันให้เด็กนักเรียนกว่า 500 คน แก๊สที่ได้มีปริมาณเพียงพอให้ใช้งานได้แบบไม่มีหมด ทำให้โรงเรียนประหยัดค่าแก๊สหุงต้มได้กว่า 5000 บาทต่อเทอม
 
การใช้แก๊สมีเทนที่ได้จากการหมักเป็นเชื้อเพลิงเป็นการลดก๊าซเรือนกระจกได้อีกทางนึงด้วยนะ เพราะถ้าปล่อยให้เกิดการย่อยสลายในบ่อขยะ แก๊สมีเทนก็จะขึ้นสู่บรรยากาศแบบไร้การควบคุมเลยหละ นอกจากเชื้อเพลิงแล้ว ผลพลอยได้จากการหมักขยะอินทรีย์ยังเป็นปุ๋ยน้ำเข้มข้นที่สามารถนำไปทำปุ๋ยอัดเม็ด หรือ ปุ๋ยน้ำ ได้อย่างดีอีกด้วย ซึ่งที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ก็นำปุ๋ยเหล่านี้ไปทำแปลงเกษตรปลอดสารพิษ และนำผักผลไม้ที่ได้มาใช้ในกิจกรรมของมหาวิทยาลัยอีกทางนึง

เห็นปุ๋ยเยอะแก๊สเยอะอย่างนี้บอกเลยว่า กำลังการผลิตแก๊สยังเหลืออีกเพียบ เพราะเครื่องสามารถย่อยได้ถึงวันละ 400 กิโลกรัม ตอนนี้อยู่ที่ว่าทำอย่างไรให้คนสามารถคัดแยกขยะอินทรีย์ได้ถูกต้องและส่งมาที่เครื่องได้มากกว่า

เมื่อจินตนาการคิดไปถึงการนำเศษอาหารมาแลกแก๊ส แลกปุ๋ย แลกผักที่ปลูกได้จากปุ๋ย ถ้าทำเป็นวงจรได้คิดว่าทุกคนมีส่วนร่วมและได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันแน่ๆ

โควิดคือฝันร้ายข้ามคืน แต่ปัญหาขยะคือเรื่องจริงที่รอวันแก้ไข
แม้จะเป็นการมาสมุยครั้งแรกของลุง แต่บรรยากาศบนเกาะ ร้านรวงที่ปิดไฟมืด ก็บ่งบอกได้ชัดเจนว่า โควิดส่งผลกระทบมากแค่ไหนให้ชาวสมุย แต่ลุงเชื่อว่าอีกไม่นาน หลังวิกฤติ สมุยจะเป็นที่แรกๆ ในโลกที่นักท่องเที่ยวจะนึกถึง ความคึกครื้นจะกลับมาแต่งแต้มสีสันให้ที่นี่อีกครั้ง แต่จะดียิ่งขึ้นไปอีกถ้าคนท้องถิ่นสมุย ธุรกิจ โรงแรม ห้างร้านบนเกาะ ภาครัฐ จะร่วมมือกันทำให้เกาะสมุยสะอาด สวยงาม และมี zero waste เป็นจุดขายอย่างนึง
 
เศษอาหารที่ไม่ไปจบที่บ่อขยะ, เกาะที่ปลอดถุงพลาสติก, ชายหาดที่ปราศจากขยะทะเล, เมืองแห่งการใช้ประโยชน์จากขยะ ….. ทั้งหมดนี้จะเป็นไปได้ ก็ขึ้นอยู่กับสิ่งเดียว คือ ความร่วมมือที่ต้องร่วมทำของทุกคน

ขอบคุณแหล่งข้อมูล
www.facebook.com/3WheelsUncle/posts/881677262581047


Smart City Thailand : 02 054 7755
Contact us : thunya.b@gmail.com | thunya@securitysystems.in.th

© smartcitythailand 11 โกสุมรวมใจ ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร 10210