สรุปประเด็นสำคัญจากการประชุมโลกร้อน COP26 วันที่ 8 พ.ย. 2021

Loading

สัปดาห์ที่สองมีสิ่งต่างๆเกิดขึ้นมากมายภายในงาน วันนี้เราจะมาสรุปประเด็นสำคัญจากการประชุมในวันที่ 8 พฤศจิกายน

โดยประเด็นของวันนี้คือ Adaptation and Loss and Damage Day ซึ่งสำคัญมาก เพราะปีที่ผ่านมาทั่วโลกเผชิญกับภัยพิบัติทั้งน้ำท่วมในยุโรปและจีน ไฟป่าในอเมริกาเหนือและออสเตรเลีย และภัยแล้งในตอนใต้ของมาดากัสการ์ วันนี้จึงมีการพูดถึงประเทศที่ได้รับผลกระทบ และมีการพูดคุยเรื่องกองทุนช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ ในเรื่องของการปรับตัว และกว่า 88 ประเทศมีแผนการปรับตัวหรือ National Adaptation Plans (NAPs) และมีประเด็นดังนี้

1 กลุ่มอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลมีที่นั่งในงานมากที่สุด นักเคลื่อนไหวเผยว่ากลุ่มอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลมีที่นั่งในการประชุม COP26 มากที่สุด กว่า 503 ผู้เข้าร่วมมาจากกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงไม่ก็มาจากประเทศที่เกี่ยวข้องกับการผลิตน้ำมันและก๊าซ

2 โอบามาขึ้นกล่าวต่อหน้าที่ประชุม อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา บารัค โอบามากล่าวต่อหน้าผู้นำโลก เชิญชวนให้คนรุ่นใหม่ออกมาเคลื่อนไหวให้นักการเมืองดำเนินการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ ในขณะเดียวกันก็กล่าวโทษผู้นำจีนและรัสเซียว่าทำไมไม่มาเข้าร่วมการประชุมนี้

3 จีนเผยว่าตนทำจริงไม่ใช่แค่ตั้งเป้าหมาย จีนในฐานะที่เป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันดับหนึ่งของโลกเผยว่า ตนได้ทำมากกว่าที่คนกล่าวหา และจีนมีแผนที่เป็นรูปธรรมแล้ว ไม่ใช่แค่เป้าหมายที่เลื่อนลอยเหมือนประเทศอื่น ๆ ทั้งแผนการผลิตถ่ายหินจนถึงปี 2025 และการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพลังงานลมและแสงอาทิตย์ภายในปี 2030

4 ScientistRebillion ภายนอกห้องประชุม มีการประท้วงของกลุ่ม Scientist Rebellion ที่สะพาน King George V ในกลาสโกว์ เรียกร้องให้ผู้นำจริงจังกับการดำเนินการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศในครั้งนี้

5 เสียงร้องจากผู้รอดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ผู้รอดจากภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศออกมาพูดต่อหน้าที่ประชุมเรื่อง “loss and damage” การสูญเสียและการทำลายว่า หลายคนยังคงอยู่ที่เดิม ที่ที่คนรักของพวกเขาเสียชีวิต และตอนนี้พวกเขาก็กำลังอยู่ด้วยความหวาดกลัว

6 ใครควรเป็นคนชดเชย กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วเคยตกลงไว้ว่าภายในปี 2020 จะมอบเงิน 1 แสนล้านดอลลาร์ต่อปีให้กับประเทศที่มีรายได้ต่ำ เพื่อปรับตัวและแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ยังคงมีการถกเถียงกันว่าใครควรเป็นคนจ่ายชดเชยในด้านใดบ้าง บางประเทศมองว่าผู้ที่ต้องรับผิดชอบคือประเทศผู้ปล่อยก๊าซเป็นอันดับต้น ๆ อย่างไรก็ตาม Diego Pacheco Balaza จากโบลิเวีย และ Mohamed Adow จาก Power Shift Africa เผยว่า ประเทศพัฒนาแล้วพยายามที่จะเปลี่ยนประเด็นการพูดคุย และไม่พูดถึงเรื่องการชดเชย และให้งบสนับสนุน

7 ประเทศพัฒนาแล้วสัญญาจะหนุนเงินสนับสนุน ประเทศพัฒนาแล้วให้คำมั่นสัญญาว่าจะมอบงบประมาณกว่า 232 ล้านดอลลาร์กับ Adaptation Fund กองทุนกํารปรับตัว โดยประเทศเหล่านั้นมีสหรัฐอเมริกา แคนาดา สวีเดน ฟินแลนด์ ไอร์แลนด์ เยอรมนี นอร์เวย์ กาตาร์ สเปน สวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และรัฐบาลของรัฐควิเบก แคนาดา และฟลานเดอร์ ในเบลเยียม

แหล่งข้อมูล

https://www.facebook.com/1523107561151019/posts/4217389101722838/


Smart City Thailand : 02 054 7755
Contact us : thunya.b@gmail.com | thunya@securitysystems.in.th

© smartcitythailand 11 โกสุมรวมใจ ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร 10210