จาก Lithium Triangle ถึง Recycle “การเติบโต” อย่าง “ก้าวกระโดด” ของ “รถยนต์พลังงานไฟฟ้า”

Loading

ดูเหมือนกระแส “รถยนต์พลังงานไฟฟ้า” จะยั้งไม่หยุดฉุดไม่อยู่ สังเกตุง่ายๆ จากข่าวสารในแต่ละวันของ “รถยนต์พลังงานไฟฟ้า” ทั้งในหน้าหนังสือพิมพ์คอลัมน์ “ยานยนต์” ไปจนถึงรายการโทรทัศน์เกี่ยวกับ “เทคโนโลยี” ล้วนต้องนำเสนอเรื่องราวของ “รถยนต์พลังงานไฟฟ้า” ทั้งสิ้น

เริ่มจากข่าวแรกกันก่อน

เมื่อบริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ระดับโลก ต่างก็กำลังพยายามหาทางขยายไลน์การผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่องทางการขาย “รถยนต์พลังงานไฟฟ้า” หรือ EV (Electric Vehicle)

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเพียรหาวิธีการใหม่ๆ ในการนำ “แบตเตอรี่” ของ “รถยนต์พลังงานไฟฟ้า” กลับมาเวียนใช้ใหม่ นัยว่าเป็นการลดต้นทุน และปกป้องสิ่งแวดล้อมไปด้วยในตัว

เป็นที่ทราบกันดี ว่าส่วนใหญ่ของ “รถยนต์พลังงานไฟฟ้า” ล้วนต้องพึ่งพาอาศัย “แบตเตอรี่” แบบ lithium-ion ซึ่งโรงงานรถยนต์มักจะรับประกันแบตเตอรี่เป็นเวลา 8-10 ปี

โดยในปัจจุบัน ได้มีการนำ “แบตเตอรี่” บางชนิดกลับมาใช้ใหม่ หมายความว่า “แร่ธาตุ” ใน “แบตเตอรี่” เหล่านั้นจะถูกนำกลับมาใช้ใหม่ด้วย แม้ว่ากระบวนการ Recycle “แบตเตอรี่” ดังกล่าว จะเป็นเรื่องยุ่งยาก และมีค่าใช้จ่ายสูงก็ตามที

อย่างไรก็ดี องค์ประกอบของ “แร่ธาตุ” ที่บรรจุอยู่ใน “แบตเตอรี่” แบบ lithium-ion ไม่ว่าจะเป็น “ลิเธียม”  “โคบอลต์” “นิกเกิล” “กราไฟต์” และ “แมงกานีส” แม้จะทราบกันดี ว่าวัสดุเหล่านี้มีอยู่อย่างจำกัดใต้พื้นพิภพ ทว่า กระบวนการ Recycle สามารถช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างไม่หยุดยั้งของ “แร่ธาตุ” เหล่านี้ได้

กระบวน Recycle ดังกล่าว คือการแยก “แบตเตอรี่” ออกเป็นชิ้นเล็กๆ จากนั้นจะทำการแยกองค์ประกอบที่เป็น “โลหะ” และตามด้วย “แร่ธาตุ” อื่นๆ ทั้งหมด

“สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ” หรือ IEA ชี้ว่า องค์ประกอบหลักของ “แบตเตอรี่” ใน “รถยนต์พลังงานไฟฟ้า” ที่หมดอายุ สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างแน่นอน!

“แบตเตอรี่ใช้แล้วที่ยังมีประสิทธิภาพระหว่าง 70% ถึง 80% ของความจุพลังงานนั้น สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ในการจัดเก็บแบบอยู่กับที่ที่มีความต้องการพลังงานน้อยกว่า” IEA กระชุ่น

ทั้งนี้ อาจรวมไปถึงการใช้ “แบตเตอรี่” ของ “รถยนต์พลังงานไฟฟ้า” คันเก่าๆ เพื่อกักเก็บพลังงานสำหรับ “ระบบไฟฟ้าหลัก” ที่เรียกว่า Grid

IEA กล่าวต่อไปว่า “แบตเตอรี่” แบบ Recycle สามารถนำไปใช้ในการเชื่อมต่อกับ “ระบบผลิตไฟฟ้า” จาก “พลังงานลม” หรือ Solar Cell ได้อีกด้วย!

อีกกระบวนการหนึ่งซึ่งสามารถนำชิ้นส่วน “แบตเตอรี่” คือ “แคโทด” และ “แอโนด” กลับมาใช้ใหม่ได้อย่างสมบูรณ์ คือการใช้ “คลื่นอัลตราโซนิก” ในการ Recycle องค์ประกอบสำคัญเหล่านี้โดย “ไม่ต้องแยกชิ้นส่วนออกจากกัน”

นั่นคือ กระบวนการที่เรียกว่า Hydrometallurgy หรือ “โลหวิทยาสารละลาย” ซึ่งเป็นการใช้ “ของเหลว” และ “สารเคมี” ในการดึง “ลิเธียม” และองค์ประกอบอื่นๆ ออกจาก “แบตเตอรี่เก่า” เพื่อนำไปใช้ใน “แบตเตอรี่ใหม่” นั่นเอง

อีกข่าวหนึ่งซึ่งดูเหมือนว่าจะร้อนแรงไม่แพ้กันในประเด็น “รถยนต์พลังงานไฟฟ้า” ก็คือ คำประกาศของ “อาร์เจนตินา” “ชิลี” และ “โบลิเวีย” ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็น Lithium Triangle หรือ “สามเหลี่ยมลิเธียม” ที่กำลังเจรจากันเพื่อสร้างความก้าวหน้าในการผลิต “แบตเตอรี่” สำหรับ “รถยนต์พลังงานไฟฟ้า”

Lithium Triangle ทั้ง 3 ชาติดังกล่าว มีความสำคัญในแง่ที่ว่า ทั้ง 3 ประเทศมีสัดส่วนทรัพยากร “ลิเธียม” รวมกันมากกว่า “ครึ่งหนึ่งของโลก” นั่นเอง!

โดย “ชิลี” เป็นผู้ส่งออก “ลิเธียม” มากเป็นอันดับ 2 ของโลก!

ขณะที่ “อาร์เจนตินา” และ “โบลิเวีย” ก็เป็นผู้ผลิต “ลิเธียม” ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลกเช่นกัน!

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าทั้ง 3 ประเทศนี้ จะเล็งเห็นถึงข้อจำกัดในการผันตัวเองไปสู่การเป็น “ผู้ผลิตลิเธียมมูลค่าสูง” แต่ทั้ง 3 ชาติ ก็ไม่ละความพยายาม

การจับไม้จับมือ ร่วมแรงร่วมใจ เพื่อสร้างสถานะการเป็น “ห่วงโซ่อุปทานแบตเตอรี่” เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่การระบาดใหญ่ของ COVID-19 และสงคราม “ยูเครน-รัสเซีย” ที่กำลังเป็นตัวเร่งเพื่อแยกส่วนความสัมพันธ์ทางการค้าแบบดั้งเดิม

สงคราม “ยูเครน-รัสเซีย” ได้กระตุ้นความพยายามส่งเสริม “อุตสาหกรรมท้องถิ่น” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธุรกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ “รถยนต์พลังงานไฟฟ้า”

อย่างไรก็ดี แม้ว่า “อาร์เจนตินา” “ชิลี” และ “โบลิเวีย” จะมีมุมมองที่แตกต่างกันอยู่บ้าง เกี่ยวกับการผลิต “ลิเธียม” แต่ทั้ง 3 ประเทศ ก็มีมุมมองร่วมกันในเรื่องของอนาคต

“อาร์เจนตินา” บอกว่า “เราทั้ง 3 ชาติ กำลังร่วมมือกันในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อความก้าวหน้าในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ลิเธียม”

“อาร์เจนตินาต้องการที่จะร่วมงานกับชิลีและโบลิเวียในรูปแบบไตรภาคี ซึ่งจะมีคณะทำงานที่จัดตั้งขึ้นในจังหวัดต่างๆ ที่ทำเหมืองแร่ลิเธียม ไม่ว่าจะเป็น Jujuy, Salta และ Catamarca จนถึงจนถึงขณะนี้ การเจรจาเป็นไปในทิศทางที่ดี”

ขณะที่ “อาร์เจนตินา” กำลังเร่งขุดเหมือง ประเทศคู่แข่งทั้งหลาย ก็พยายามกดดันรัฐบาลให้สนับสนุนการผลิต “รถยนต์พลังงานไฟฟ้า” ไม่ว่าจะเป็นการให้ผลประโยชน์จูงใจในด้านการลงทุน และการกำหนดเส้นตายสำหรับการระงับการขายรถยนต์ที่มีเครื่องยนต์สันดาปภายในปี ค.ศ. 2040

โดย “อาร์เจนตินา” กำลังก่อสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก!

คณะทำงานของจังหวัดต่างๆ ใน “อาร์เจนตินา” กำลังทำการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ “ลิเธียม” เพื่อรวบรวมสิ่งที่ต้องทำด้านโครงสร้างพื้นฐาน

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การวางผังเมือง และเนรมิตโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “สายไฟ” ที่จะได้รับประโยชน์จากการตั้ง “เหมืองลิเธียม” บนที่ราบสูง Altiplano ซึ่งเป็นทะเลเกลือที่เป็น “แหล่งลิเธียม”

ทั้งนี้ ในปัจจุบัน “อุตสาหกรรมลิเธียม” ของ “อาร์เจนตินา” ที่มีอยู่เพียง 2 โครงการก็มีขนาดใหญ่พอที่จะเขย่าโลกของ “รถยนต์พลังงานไฟฟ้า” ได้อย่างสะท้านฟ้าสะเทือนดิน!

แหล่งข้อมูล

https://www.salika.co/2022/06/28/lithium-triangle-to-recycle-electric-vehicle/


Smart City Thailand : 02 054 7755
Contact us : thunya.b@gmail.com | thunya@securitysystems.in.th

© smartcitythailand 11 โกสุมรวมใจ ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร 10210