เปิดพฤติกรรมผู้ใช้งาน AI ในปี 2025 – ตอนนี้ AI ถูกใช้เพื่อการบำบัดจิตใจ เป็นอันดับ 1 แล้ว! แตกต่างจากปี 2024 ที่อันดับ 1 เป็นการคิดไอเดียอะไรใหม่ๆ
จาก “ไอเดียเจ๋ง ๆ” สู่ “ฮีลใจเรา”: 1 ปีผ่านไป ผู้ใช้ Gen AI เปลี่ยนวิธีใช้ไปไกลกว่าที่เราคิด
เมื่อก่อน เราใช้ AI เพื่อหาคำตอบเร็ว ๆ ระดมไอเดียไว ๆ หรือเล่นอะไรสนุก ๆ ขำ ๆ แต่วันนี้ หลายคนใช้ AI เพื่อคุยกับใครสักคนที่ไม่ตัดสิน ใช้เพื่อสะท้อนตัวเอง ค้นหาความหมายของชีวิต หรือแม้แต่จัดระเบียบใจที่วุ่นวายไม่แพ้ตารางชีวิต
รายงานล่าสุดจาก Filtered.com ที่สำรวจ 100 อันดับการใช้งาน Generative AI ตลอดช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา เผยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน: AI ไม่ได้เป็นแค่ “เครื่องมือ” อีกต่อไป แต่กลายเป็น “เพื่อนร่วมทางในชีวิตจริง”
การใช้งานยอดนิยมในปี 2025 บอกอะไรบางอย่างกับเราได้ชัดเจน
- AI ถูกใช้เพื่อการบำบัดจิตใจ (Therapy/Companionship) มากที่สุด
- คนเริ่มใช้ AI เพื่อ “จัดระเบียบชีวิต” เช่น วางแผนตาราง ทำความสะอาดบ้าน รับมือกับภาระ
- และที่น่าทึ่งที่สุด — AI ถูกใช้เพื่อ “ค้นหาจุดหมาย” ในชีวิต
แน่นอนว่า … ปี 2025 มีคนถาม AI ว่า “ชีวิตฉันควรจะไปทางไหนดี?”
จากการใช้งาน AI เดิม ๆ อย่าง การคิดไอเดีย หรือ เขียนโค้ด — การใช้งานเหล่านั้นยังคงอยู่ แต่เลื่อนอันดับลง สะท้อนให้เห็นว่า “ฟังก์ชัน” อาจไม่สำคัญเท่า “ความสัมพันธ์” อีกต่อไป
อันดับการใช้งาน AI ในปี 2024:
- Generating ideas – คิดไอเดีย / ระดมสมอง
- Therapy/companionship – ใช้ AI เพื่อบำบัดจิตใจ หรือเป็นเพื่อนคุย
- Specific search – ค้นหาข้อมูลเฉพาะเจาะจง
- Editing text – แก้ไขข้อความ เช่น ตรวจแกรมมาร์
- Exploring topics of interest – ค้นคว้าหัวข้อที่สนใจ
- Fun and nonsense – ใช้เพื่อความสนุก ขำขัน ไร้สาระ
- Troubleshooting – แก้ปัญหาเทคนิคหรืออุปกรณ์
- Enhanced learning – ใช้เสริมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ
- Personalized learning – เรียนรู้แบบเฉพาะบุคคล
- General advice – ขอคำแนะนำทั่วไป
10 อันดับ การใช้งาน AI ปี 2025
- Therapy/companionship ใช้ AI เป็นเพื่อนคุย/ที่ปรึกษา/ที่ระบาย
- Organizing my life (เข้ามาใหม่) วางแผนชีวิต จัดตาราง ช่วยจัดการเวลา
- Finding purpose (เข้ามาใหม่ ) ใช้ AI ค้นหาเป้าหมายชีวิต / สำรวจตัวเอง
- Enhanced learning เรียนรู้ลึกขึ้น เข้าใจเร็วขึ้น เช่น สอนแบบปรับตามผู้เรียน
- Generating code (สำหรับมืออาชีพ) เขียนโค้ดเฉพาะทางขั้นสูง
- Generating ideas คิดไอเดียใหม่ เช่น ชื่อโปรเจกต์ โพสต์ วิดีโอ
- Fun and nonsense ใช้เล่น ตลก ขำๆ เช่น ให้ AI แต่งกลอนมั่ว
- Improving code (สำหรับมืออาชีพ) ตรวจ แก้ หรือปรับโค้ดให้ดีขึ้น
- Creativity ใช้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ เช่น แต่งเพลง ออกแบบภาพ
- Healthier living ขอคำแนะนำเพื่อชีวิตดีขึ้น เช่น โภชนาการ นอนหลับ ออกกำลัง
จะเห็นว่า 3 อันดับแรกในปี 2025 ล้วนเป็น “เรื่องส่วนตัว” ทั้งหมด ส่วนฟีเจอร์อย่างโค้ด ความคิดสร้างสรรค์ หรือบทเรียนเสริม ก็ยังเติบโต แต่ไม่ใช่ตัวนำ
AI กลายเป็นที่พึ่งในเรื่องที่เราไม่กล้าพูดกับใคร
นอกจากฟีเจอร์ใหญ่ ๆ ยังมีการใช้งาน AI แบบใหม่ ๆ ที่ติดอันดับในปีนี้ เช่น…
- อันดับ 32 – ขอคำปรึกษาด้านภาษี
- อันดับ 42 – ปรึกษาวิธีเลี้ยงลูก
- อันดับ 78 – ซ้อมคุยกับหมอก่อนนัด
- อันดับ 86 – หาข้ออ้างเลี่ยงประชุม
- อันดับ 89 – ค้นหาศาสนาและความเชื่อ
สิ่งนี้สะท้อนความจริงหนึ่งที่น่าสนใจ คือ คนอยากคุยกับ AI แบบที่คุยกับคนไม่ได้ เพราะ AI ไม่ตัดสิน ไม่เหนื่อย ไม่ตั้งคำถามกลับ
แต่ก็ไม่ได้ไร้ข้อกังวล
-แม้ AI จะกลายเป็นที่พึ่งของใจมากขึ้น
-แต่ก็เริ่มมีคำถามเรื่อง “ความเป็นส่วนตัว”
-ผู้ใช้บางคนเริ่มไม่สบายใจที่ AI ลืมสิ่งที่เคยพูดไว้ หรือจดจำบริบทไม่ได้
-ในขณะที่อีกกลุ่มกลับอยากให้ AI “จดจำเราได้เหมือนเพื่อนคนหนึ่ง”
และแน่นอน คำถามคลาสสิกก็กลับมาอีกครั้ง: เราพึ่งพา AI มากเกินไปหรือยัง ?
สรุป: AI กำลังเปลี่ยน… และเราเองก็เปลี่ยนไปด้วย
จากเครื่องมือระดมไอเดีย สู่ผู้ช่วยทางใจ และ จากโค้ดเฉียบขาด สู่คำถามว่า “ฉันควรทำอะไรกับชีวิตดี?” AI ไม่ใช่แค่ “คำตอบ” อีกต่อไป — แต่มันเริ่มกลายเป็น “คำถาม” ในตัวมันเอง และนั่นคือจุดที่มันเริ่มมีบทบาท “เหมือนมนุษย์” มากกว่าที่เราคิด
แหล่งข้อมูล