กรณีศึกษา Amazon ช่วยติดปีกสินค้าไทย โกอินเตอร์ได้อย่างไร

Loading

ในวันที่โลกของการช็อปปิงถูกย่อให้อยู่แค่ปลายนิ้ว ไม่ว่าใครก็สามารถช็อปของที่ถูกใจ​ จากทั่วทุกมุมโลกได้ผ่านหน้าจอ จากนั้นแค่นั่งรอรับของอยู่ที่บ้าน

ด้วยรูปแบบที่ตอบโจทย์ทั้งความสะดวกสบาย และยังลงตัวกับวิถีชีวิตใหม่ของผู้คนนี้เอง ทำให้การพาธุรกิจเข้าสู่โลกอีคอมเมิร์ซ ซึ่งเป็นการพลิกโฉม โลกของการซื้อขายมาอยู่บนโลกออนไลน์โดยไม่ผ่านตัวกลางหรือหน้าร้านได้กลายเป็นอีกหนึ่งไม้ตายในการสร้างยอดขาย ขยายฐานลูกค้าที่หลายแบรนด์ให้ความสำคัญ​

แต่ที่น่าคิดคือ ในบรรดาแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ที่แบรนด์ส่วนใหญ่เลือกใช้ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์หลักของแบรนด์, Social Commerce (การซื้อขายผ่านโซเชียลมีเดีย) ไปจนถึง E-Marketplace การซื้อขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เราคุ้นเคยอาจจะตอบโจทย์ประสบการณ์ช็อปออนไลน์ และสร้างช่องทางการขายเพิ่มเติมให้แบรนด์ได้ก็จริง

แต่ถ้ามองแค่ขนาดของตลาดออนไลน์ ด้วยข้อจำกัดเรื่องการขนส่ง ก็อาจจะทำให้แบรนด์ขยายตลาดได้แค่ในประเทศหรือในภูมิภาคเท่านั้น ซึ่งไม่น่าจะตอบโจทย์แบรนด์ที่ฝันใหญ่อยากโกอินเตอร์ไปเจาะตลาดสหรัฐอเมริกาอย่างน่าเสียดาย

เพราะอย่าลืมว่า สหรัฐฯ เป็นหนึ่งในตลาดที่ค่อนข้างมีศักยภาพ โดยเฉพาะตลาดอีคอมเมิร์ซ ที่มีการเติบโตเฉลี่ย 3.7 เท่าของตลาดค้าปลีก และถ้าไปดูสัดส่วนการใช้จ่ายในโลกออนไลน์ของชาวอเมริกัน ยังพบว่ามีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือน สูงกว่า 68% ของคนทั่วโลก

คำถามคือ จะดีแค่ไหน ถ้าเจ้าของธุรกิจไทยที่สนใจจะสร้างช่องทางออนไลน์ของตัวเอง จะสามารถยิงปืนนัดเดียวได้นกทั้งฝูง

ด้วยการเลือกใช้เว็บไซต์ ที่เป็นเหมือนประตูแห่งโอกาสที่ติดปีกให้ผู้ประกอบการไทย สามารถเข้าถึงฐานลูกค้า 300 ล้านคนทั่วโลกได้ในพริบตา แถมยังมีเครื่องมือการตลาด และบริการที่มาช่วยให้การจัดส่งสินค้าไปถึงมือลูกค้าเป็นเรื่องง่าย ๆ ซึ่งคำตอบทั้งหมดของเรื่องนี้ รวมอยู่ที่​ Amazon

มาดูกันว่า Amazon Global Selling มีบริการอะไรบ้าง ที่จะมาช่วยติดปีกให้ผู้ประกอบการไทยโกอินเตอร์ได้อย่างแข็งแกร่ง ?

เอ่ยชื่อ Amazon เชื่อว่าคนทั้งโลกคุ้นหูเป็นอย่างดี ในฐานะอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่จากสหรัฐฯ ที่มีมูลค่าบริษัทสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก จุดเด่นของ Amazon คือ เป็นแพลตฟอร์มที่ทลายพรมแดนในการทำธุรกิจแบบเดิม ๆ เปิดโอกาสให้ผู้ซื้อและผู้ขายจากทั่วทุกมุมโลกมาเจอกันผ่านหน้าจอ

ปัจจุบัน Amazon มีผู้ใช้งานกว่า 300 ล้านคนทั่วโลกที่ใช้บริการ นั่นหมายความว่า เพียงแค่นำสินค้าไปวางขายผ่าน Amazon ก็มีโอกาสที่จะเข้าถึงลูกค้าได้ถึง 300 ล้านคนทั่วโลกในพริบตา

ซึ่งถ้าถามว่า 300 ล้านคนมากขนาดไหน ก็ต้องบอกว่า มากกว่าจำนวนประชากรของอินโดนีเซีย ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งอยู่ที่ราว 274 ล้านคนด้วยซ้ำ นี่ยังไม่รวมอีกหลากหลายบริการของ Amazon ที่มาสร้างแต้มต่อให้ธุรกิจและช่วยปลดล็อกข้อจำกัดในการทำธุรกิจข้ามพรมแดนที่หลายคนมองว่าเป็นเรื่องยากให้ง่ายราวกับพลิกฝ่ามือ​

ที่น่าจะตอบโจทย์และช่วยคลายความกังวลให้กับเจ้าของธุรกิจ ไม่ว่าจะเริ่มต้นด้วยการเปิดหน้าร้านออนไลน์หรือที่เพิ่งขยายมาทำออนไลน์ได้เป็นอย่างดี คือ บริการ Fulfillment by Amazon (FBA) ซึ่งเป็นระบบหลังบ้านของ Amazon ช่วยอำนวยความสะดวกให้เจ้าของธุรกิจ ไม่ว่าจะมีหน้าร้านอยู่ที่ไหน ก็อุ่นใจ สามารถส่งตรงสินค้าถึงมือลูกค้าได้อย่างมั่นใจ ด้วยการส่งสินค้าไปจัดเก็บในคลังสินค้าของ Amazon เพราะเมื่อมีลูกค้ากดซื้อสินค้าเข้ามา ด้วยบริการ FBA ของ Amazon จะช่วยเตรียมบรรจุหีบห่อ จัดส่งสินค้าให้ลูกค้า

แถมยังอุ่นใจ ไม่ต้องห่วงว่าจะต้องหาพนักงานมาประจำการ เพื่อสแตนด์บายคอยตอบคำถามหรือช่วยลูกค้าแก้ปัญหา รวมถึงจัดการในกรณีลูกค้าเปลี่ยนหรือคืนสินค้า เพราะ Amazon ​มีบริการ Customer Support ที่เสมือนเป็นผู้ช่วย ตอบคำถามของลูกค้าในนามของผู้ขายเป็นภาษาท้องถิ่นภายใน 24 ชั่วโมง

ที่สำคัญ ไม่ต้องกลัวว่า พอต้องไปแข่งขันในสนามใหญ่ที่มีคู่ค้าจากทั่วโลกแล้ว แบรนด์เล็ก ๆ จะถูกกลืน เพราะ Amazon มีเครื่องมือการตลาดมากมาย เพื่อช่วยเจ้าของแบรนด์ในการกระตุ้นการมองเห็นและการเพิ่มยอดขาย ไม่ว่าจะเป็น Sponsored Products, Sponsored Brands, Sponsored Display

Amazon จึงพร้อมเป็นประตูแห่งโอกาสในการพาแบรนด์โกอินเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์เล็ก หรือเป็นแบรนด์ที่เพิ่งเข้าสู่โลกอีคอมเมิร์ซ หรือไม่เคยเป็นที่รู้จักในระดับโลกมาก่อนก็ไม่ใช่ปัญหา

ตัวอย่าง​ หนึ่งในแบรนด์ไทยที่พิสูจน์แล้วว่า Amazon สามารถสร้างแต้มต่อให้ธุรกิจจนสามารถโกอินเตอร์ในตลาดโลกได้แบบกล้วย ๆ คือ “บานาน่า โจ” แบรนด์กล้วยหอมทอดไทย ที่ปั้นสแน็ก ของไทย จนมียอดขายสุดปังก่อนจะเฉลยคำตอบ ซึ่งมี ​Amazon เป็นหนึ่งในกุญแจดอกสำคัญ

ไปทำความรู้จักกันก่อนว่า บานาน่า โจ น่าสนใจอย่างไร

ผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ “บานาน่า โจ” คือ ฐิติพัฒน์ มีชูบท และ วชิรวิชญ์ ศิริโชควณิชย์ สองหนุ่มนักเรียนนอก ที่อยากเริ่มต้นธุรกิจ

จากตอนแรกที่ตั้งใจนำเข้าขนมจากต่างประเทศมาขายในไทย แต่พอไปสำรวจตลาดจริง กลับพบว่า ขนมที่นำเข้ามาส่วนใหญ่ หนีไม่พ้นสแน็ก จำพวกมันฝรั่ง

พอเรื่องเป็นแบบนี้ ทั้งคู่เลยคิดมุมกลับว่า ทำไมไม่ลองพัฒนาขนมขบเคี้ยวของไทยไปตีตลาดต่างประเทศบ้าง เลยกลายเป็นที่มาของการแปลงโฉมของกินเล่น ที่คนไทยคุ้นเคยเป็นอย่างดีมาเป็นสแน็กสุดเก๋

นำเสนอด้วยจุดขายที่แตกต่าง​ คัดเฉพาะกล้วยหอมทอง ของดีของไทยที่รสชาติอร่อย แถมอุดมไปด้วยคุณประโยชน์ มาแปรรูปเพิ่มความโดดเด่นด้วยการพัฒนาผงปรุงรสที่สกัดมาจากวัตถุดิบธรรมชาติ โดยไม่มีสารเคมีใด ๆ เพื่อให้มีรสชาติที่หลากหลาย เช่น รสโตเกียว คัสตาร์ด, รสซีซอล์ท, รสซอสพริกศรีราชา

เมื่อได้ผลิตภัณฑ์ที่อร่อย แตกต่าง และมีคุณภาพแล้ว ก็ถึงเวลาตีตลาด

อย่างที่เกริ่นไว้ตอนต้นว่า บานาน่า โจ เป้าหมายชัดตั้งแต่ต้นว่า จะโกอินเตอร์ ดังนั้น ทางลัดสำคัญในการไปถึงเส้นชัยที่บานาน่า โจ วางใจ คือ การได้นำสินค้าไปวางขายใน Amazon ซึ่งมีบริการครบวงจร สำหรับเจ้าของธุรกิจ ช่วยให้โจทย์ธุรกิจที่เคยยาก ก็ค่อย ๆ ถูกแก้ไปทีละข้อ

ปัจจุบันบานาน่า โจ สามารถเข้าถึงฐานลูกค้าจากทั่วโลก แถมยังมีเครื่องมือการตลาดและดาต้าของ Amazon ในการปั้นแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยมในหมู่ลูกค้า มีระบบหลังบ้าน FBA ช่วยเป็นธุระในการจัดเตรียม บรรจุ และจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าแบบครบจบในที่เดียว

มาถึงตรงนี้คงเห็นภาพแล้วว่า Amazon จะช่วยติดปีกให้ผู้ประกอบการในไทยโกอินเตอร์ได้อย่างไร เพราะต่อให้ไม่ต้องมีออฟฟิศ หรือคลังสินค้ากระจายอยู่ทั่วโลกก็สามารถโกอินเตอร์ และเปิดรับออร์เดอร์จากอีกซีกโลก อย่างสหรัฐฯ และยุโรป ได้ง่าย ๆ แค่ปลายนิ้ว

สำหรับเจ้าของธุรกิจที่ไม่อยากพลาดโอกาสส่งสินค้าไทยไปสู่ระดับโลก

แหล่งข้อมูล

https://www.facebook.com/1387231808035873/posts/4744619985630355/


Smart City Thailand : 02 054 7755
Contact us : thunya.b@gmail.com | thunya@securitysystems.in.th

© smartcitythailand 11 โกสุมรวมใจ ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร 10210