- ผลสำรวจจาก INTOO และ Workplace Intelligence พบว่า พนักงานหลายคนรู้สึกว่าเจ้านายให้คำแนะนำและพัฒนาอาชีพได้ไม่ดี
- ไม่ว่ายุคไหนๆก็มีปัญหาเรื่องเจ้านายและลูกน้องไม่จบไม่สิ้น ทำให้เรื่องนี้ดูเหมือนจะไม่เป็นเรื่องใหญ่กลับเป็นเรื่องใหญ่ซะงั้น โดยเฉพาะในด้านการทำงาน
- ต้องมีวัฒนธรรมองค์กรที่เห็นพนักงานเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้พวกเขารู้สึกได้รับการสนับสนุน และมีพื้นที่สำหรับการเติบโตและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้นนั่นเอง
ผลสำรวจจาก INTOO และ Workplace Intelligence พบว่า พนักงานหลายคนรู้สึกว่าเจ้านายให้คำแนะนำและพัฒนาอาชีพได้ไม่ดี โดยเฉพาะกลุ่มเจน Z รู้สึกผิดหวังอย่างมากถึง 47% บอกว่าได้คำแนะนำที่ดีกว่าจาก ChatGPT แถมไม่เหวี่ยงไม่วีนเหมือน และอีก 44% คาดว่าจะลาออกภายในหกเดือน
GenZ เชื่อ ChatGPT มากกว่าเจ้านาย
นี่มันยุคอะไรครองเมืองกันแน่นะ GenY หรือ GenZ แต่ไม่ว่ายุคไหนๆก็มีปัญหาเรื่องเจ้านายและลูกน้องไม่จบไม่สิ้น ทำให้เรื่องนี้ดูเหมือนจะไม่เป็นเรื่องใหญ่กลับเป็นเรื่องใหญ่ซะงั้น โดยเฉพาะการให้คำปรึกษาในด้านการทำงาน เรามักจะเจอการทำงานที่หลากหลายอยู่แล้ว เพราะการทำงานนี่แหละ คือชีวิตจริง คือการอดทนที่ทุกคนต้องเจอ เมื่อเรารับเงินเขามา ความทุกข์ระทมของจริงมันคือจุดนี้แหละ ทำให้เจนบางเจนรับไม่ได้อย่างแรง หนึ่งในนั้นคือวัยรุ่น GenZ
มีผลสำรวจจากปี 2024 ของ INTOO บริษัทพัฒนาอาชีพ และบริษัท Workplace Intelligent research พบว่า 47% ของกลุ่ม Gen-Z ระบุว่า ChatGPT ให้คำแนะนำด้านอาชีพและการพัฒนาได้ดีกว่าผู้จัดการของพวกเขา และกว่า 44% บอกว่าอยากลาออกภายใน 6 เดือนเพราะที่ทำงานช่วยในการพัฒนาทักษะของพวกเขาไม่ได้
ตามการวิเคราะห์ข้อมูลสำมะโนประชากรจาก Glassdoor ปี 2024 ถือเป็นปีแรกที่คาดว่าจำนวน Gen Z จะแซงหน้า Baby Boomers ในตลาดแรงงาน ดังนั้นนายจ้างจึงต้องปรับตัวอย่างมากเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของ Gen Z ซึ่งเป็นคนรุ่นที่มองหาที่ทำงานที่สามารถให้คำปรึกษา การฝึกอบรม และเกิดการพัฒนาในอาชีพได้
ต่อให้เงินเดือนสูงก็ไม่สามารถทดแทนการเสียสุขภาพจิตได้
“ความพึงพอใจและความภักดีของพนักงานในสมัยนี้ จะเชื่อมโยงกับการสนับสนุนและการลงทุนที่บริษัทต่างๆ มอบให้กับพนักงานของพวกเขา และถึงจะให้เงินเดือนที่สูงก็ไม่สามารถทดแทนได้” มิรา กรีนแลนด์ (Mira Greenland) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายรายได้ของ INTOO กล่าว ซึ่งในที่นี้ คำแนะนำด้านการพัฒนาอาชีพก็ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องใหญ่ แต่รวมถึงอะไรเล็กๆ น้อยๆ อย่างการแนะนำพอดแคสต์พัฒนาตัวเอง ก็ช่วยให้พนักงานประทับใจได้
หัวหน้าควรทำอย่างไร ให้ตรงใจเหล่า GenZ
กรีนแลนด์แนะนำให้เริ่มจากความโปร่งใส กับพนักงานเมื่อพูดคุยเกี่ยวกับโอกาสในการทำงาน ไม่ว่าอะไรก็ตาม เมื่อไหร่ที่ลูกน้องประสบปัญหา หัวหน้าจะต้องพยายามหาทางช่วยเหลือได้ตลอดเส้นทาง ไม่ใช่เป็นการโยนคำตอบที่ให้ลูกน้องไปควานหา ซึ่งอาจเป็น การเคารพความคิดเห็น และรู้จักรับผิด มากกว่ารับชอบ และอย่าลืมว่าอีกอย่างที่เป็นสิ่งสำคัญคือความเท่าเทียมกัน และการตรงไปตรงมานั่นเอง
ในอีกด้านหนึ่ง เหล่านายจ้างอาจจะรู้สึกว่า คน Gen Z ไม่เคยมีไหวพริบ ไม่เคยจะมีความเฉลียวฉลาดเอาซะเลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องมารยาทในที่ทำงาน จัดการกับคำติชมไม่ได้ หรือแม้แต่การแต่งกายที่ไม่เหมาะสม
ในประเด็นนี้ สเตซี่ ฮอลเลอร์ (Stacie Haller) หัวหน้าที่ปรึกษาด้านอาชีพของ Resume Builder ให้คำแนะนำว่า “เมื่อพนักงานใหม่เข้ามาในบริษัท ควรจะมีการสนทนากับพวกเขาถึงแรงบันดาลใจ เป้าหมายระยะยาวของพวกเขา เพื่อที่จะได้พร้อมที่จะสนับสนุนพวกเขาได้”
แถมยังแนะนำด้วยว่า การพูดคุยนั้นอาจรวมถึงการให้แนวทางการใช้ชีวิตและการทำงานในบริษัทอย่างเหมาะสมควบคู่ไปด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อธรรมชาติของ Gen Z ตั้งแต่ที่รับมาเข้ามา ก็ควรเข้าใจธรรมชาติที่แน่นอนว่าจะต้องแตกต่างออกไปจากคนรุ่นก่อนๆด้วย
สิ่งที่สำคัญที่ไม่น้อยกว่าคำปรึกษาคือเรื่องของ “การสื่อสาร” ฮอลเลอร์บอกว่าถือเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมบรรยากาศการทำงานได้ และจะต้องมีวัฒนธรรมองค์กรที่เห็นพนักงานเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้พวกเขารู้สึกได้รับการสนับสนุน และมีพื้นที่สำหรับการเติบโตและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้นนั่นเอง
แหล่งข้อมูล