การแข่งขันทางการค้า กับการขับเคลื่อน “Green Economy”

Loading

  • ปัจจุบันเรากำลังใช้ทรัพยากรของโลกเพิ่มขึ้นประมาณ 60%  ซึ่ง “เกิน” ความสามารถของโลก
  • การรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นสินค้าสาธารณะที่ไม่มีเจ้าของ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียว ส่งเสริมให้เกิดตลาด อาจเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม
  • การสนับสนุนการแข่งขันการสื่อสารให้ความรู้หรือออกแนวปฏิบัติ ในเรื่องของ Green Agreement นำมาตรฐานมากีดกันในด้าน Green Cartel และการฟอกเขียว รวมถึงศึกษาติดตามและพิจารณาผลกระทบที่มีต่อการแข่งขันในด้านต่างๆ

มนยศ วรรธนะภูติ รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า กล่าวในงาน เวทีผู้นำ “Climate Action Leaders Forum รุ่น 3” หรือ CAL Forum #3 ว่า ปัจจุบันเรากำลังใช้ทรัพยากรของโลกเพิ่มขึ้นประมาณ 60% กว่าที่มันสามารถสร้างใหม่ได้ทุกปี ภายในปี 2050 ด้วยจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นและ ส่งผลให้การบริโภคเพิ่มขึ้น  “เกิน” ความสามารถของโลก  ซึ่งเห็นได้ชัดว่ายังไม่ยั่งยืนมากพอ

การส่งเสริมตลาดและพลวัตของการแข่งขันใน Green Economy

การรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นสินค้าสาธารณะที่ไม่มีเจ้าของ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียว ส่งเสริมให้เกิดตลาด อาจเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหา คือ

1 โครงสร้างพื้นฐานมีต้นทุนสูง และอาจมีการผูกขาดโดยธรรมชาติ

2 ลักษณะธุรกิจ Green Economy มักจะมีความเชื่อมโยงระหว่างกัน

3 มีการตกลงความร่วมมือระหว่างกันในการพัฒนานวัตกรรม

4 เน้นรูปแบบธุรกิจใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ซึ่งการสนับสนุน Green Economy ด้วยนโยบายแข่งขัน การกำกับการแข่งขันในตลาด Green Economy ผ่าน พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ดังนี้

1 ป้องกันพฤติกรรม การกีดกันการแข่งขัน

2 ควบคุมการใช้อำนาจเหนือตลาดโดยมิชอบ

3 ดูแลการควบรวมกิจการ (M&A) ที่ส่งผลต่อโครงสร้างตลาด

4 ห้ามปฏิบัติทางการค้า

ทั้งนี้การสนับสนุนในเรื่องของการกำกับตลาดให้มีการแข่งขันที่เหมาะสม เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุน ในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสนับสนุน Green Economy และพัฒนาไปสู่นวัตกรรมที่ดีขึ้น และมีราคาลดลง (Productive Efficiency) นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดประสิทธิภาพในเชิงพลวัต (Dynamic Efficiency) และการส่งเสริมนวัตกรรม และธุรกิจรูปแบบใหม่ อย่าง Up Cycling การยืดอายุผลิตภัณฑ์ การแบ่งปันทรัพยากรและสินค้าที่เป็นแบบบริการ

นโยบายรัฐในการส่งเสริม Green Economy

สำนักงานการแข่งขันทางการค้า ยังมีบทบาทในการตรวจสอบและให้ความเห็นนโยบายรัฐในการส่งเสริม Green Economy ว่าจะไม่เป็นการขัดขวางหรือกีดกันการแข่งขัน หรือการกีดกันมิให้เกิดนวัตกรรม ดังนี้

1 ศึกษาติดตาม (Market Monitoring) พฤติกรรมการประกอบธุรกิจ

2 ความร่วมมือระหว่างธุรกิจ (Pro-competitive Collaboration VS Green Cartels)

3 การสร้างมาตรฐาน (Green Agreement VS Anti-Competitive)

4 ป้องกันการควบรวมกิจการ (Merger Control)

ในกรณีการควบรวมธุรกิจ ต้องพิจารณาทฤษฎีความเสียหาย (Theories of Harm) ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อมิให้การรวมธุรกิจทำให้การแข่งขันน้อยลง ดังนี้

1 ผลกระทบฝ่ายเดียวในผลิตภัณฑ์ที่แตกต่าง

2 เพิ่มอำนาจผู้ซื้อ

3 ผลกระทบของนวัตกรรมฝ่ายเดียว

4 การได้มาของ Green Killer 5.Vertical Effects

สนับสนุนการแข่งขันการสื่อสารให้ความรู้

ทั้งนี้การสนับสนุนการแข่งขันการสื่อสารให้ความรู้หรือออกแนวปฏิบัติ ในเรื่องของ Green Agreement นำมาตรฐานมากีดกันในด้าน Green Cartel และการฟอกเขียว รวมถึงศึกษาติดตาม และพิจารณาผลกระทบที่มีต่อการแข่งขันในด้านต่างๆ ในด้านต่างๆเช่น

1 ผลประโยชน์ของผู้บริโภค

2 ความจำเป็นในการสร้างประโยชน์

3 ผลกระทบทางบวก

4 การแข่งขันในตลาดที่มีการแข่งขันสูง

โดยในอนาคตจะมีการส่งเสริมนวัตกรรมและการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดการแข่งขันในตลาดสีเขียวการส่งเสริมการแข่งขันในตลาด รวมถึงการสร้างความโปร่งใสและเปิดเผยข้อมูลในตลาด ป้องกันพฤติกรรมฟอกเขียว ส่งเสริมความร่วมมือในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้มีมาตรการจูงใจ รวมทั้งมีนโยบายจากภาครัฐที่ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน

 ดังนั้น ทิศทางการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผู้ทำธุรกิจไม่ว่าจะเป็นรายใหญ่หรือ SME ก็ควรเร่งปรับตัว ซึ่งบทบาทของภาครัฐทำหน้าที่สนับสนุนเพื่อให้การเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้ไม่ใช่ความท้าทายแต่จะกลายเป็นโอกาสทางการค้าใหม่ของไทยต่อไป

แหล่งข้อมูล

https://www.bangkokbiznews.com/environment/1116626


Smart City Thailand : 02 054 7755
Contact us : thunya.b@gmail.com | thunya@securitysystems.in.th

© smartcitythailand 11 โกสุมรวมใจ ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร 10210