จาก Smart Agriculture ถึง Climate Smart Agriculture แนวคิดใหม่ เพื่อโลกที่ยั่งยืน

Loading

Smart Agriculture หรือ Smart Farm หมายถึง “เกษตรอัจฉริยะ” คือการเกษตรแบบใหม่ที่เปลี่ยนวิธีการดำเนินงานแบบเก่ามาใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีในการบริหารงานเกษตร และเพื่อค้นหาวิถีการทำงานให้เหมาะสมและสร้างผลผลิตทางการเกษตรที่ยั่งยืน ลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น เพิ่มกำไรให้มากขึ้น

หัวใจหลักของการทำ Smart Agriculture ก็คือ “ข้อมูล” ซึ่งเป็นพื้นฐานในการทำการเกษตร โดย Smart Agriculture ต้องพึ่งพาข้อมูลในการวิเคราะห์ เพื่อหาแนวทางที่ดีที่สุดในการทำงาน รวมถึงคาดการณ์ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต หากมีข้อมูลมากเพียงพอก็จะสามารถลดปัญหา และนำไปสู่การพัฒนาผลผลิตให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม

นอกจากนี้ “เทคโนโลยี” ก็เป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้ผลผลิตทางการเกษตรแม่นยำมากขึ้น ผ่านการนำเทคโนโลยีมาวิเคราะห์ปัจจัยทางการผลิต ทั้งสภาพอากาศ และค่าดิน นอกจากนี้เทคโนโลยียังช่วยลดขั้นตอนและลดต้นทุนการใช้แรงงานในการทำการเกษตรอีกด้วย

ตัวอย่างเทคโนโลยีเด็ดๆ ที่สามารถนำมาใช้ด้าน Smart Agriculture อาทิ Drone เครื่องบินไร้คนขับทางการเกษตร ทำหน้าที่สำรวจ และเก็บข้อมูลสภาพพื้นที่ เพื่อนำไปวิเคราะห์ และหาแนวทางการจัดการพื้นที่ ตัวอย่างโดรนที่ใช้ในการทำเกษตร เช่น Drone Seed หรือ Sense Fly เป็นต้น

Climate Condition Monitoring เทคโนโลยีเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสภาพอากาศ ผ่านเซนเซอร์ที่ติดตั้งภายในสวน ซึ่งเซนเซอร์จะเก็บข้อมูลสภาพแวดล้อมและส่งต่อไปยัง Cloud เพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อไป

Greenhouse Automation หรือ “โรงเรือนอัตโนมัติ” ช่วยในการตรวจจับสภาพแวดล้อมภายในผ่าน Sensor ได้แก่ อุณหภูมิ แสง และดิน

Crop Management ระบบการจัดการเพาะปลูก โดยวิเคราะห์ตั้งแต่สภาพหน้าดิน แร่ธาตุในดิน ค่าความเป็นกรดและด่างของดิน ไปจนถึงอุณหภูมิ การวิเคราะห์ดังกล่าวจะช่วยลดความเสี่ยงในการเพาะปลูกในพื้นที่ที่ไม่มีคุณภาพ ทำให้เกษตรกรสามารถเพาะปลูกได้อย่างมั่นใจมากยิ่งขึ้น

Predictive Analytic ระบบคาดการณ์ล่วงหน้า เป็นการนำข้อมูลมาผ่านกระบวนการทำ Data Analytics เพื่อวิเคราะห์และคาดการณ์ผลการผลิตล่วงหน้า ช่วยลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเพาะปลูก

Management System ระบบจัดการฟาร์ม เป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนการจัดการจากออฟไลน์สู่ออนไลน์ ด้วยการเชื่อมต่อและรวบรวมข้อมูลจากระบบ IoT ที่ติดตั้งภายในฟาร์ม ลงในแอปพลิเคชัน ทำให้เกษตรกรสามารถติดตามผลผลิตได้ตลอด 24 ชั่วโมง

Cattle Monitoring ระบบติดตาม และจัดการสัตว์ เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการดูแลสัตว์ภายในฟาร์ม เหมาะสำหรับเกษตรกรที่ทำปศุสัตว์ โดยระบบดังกล่าวช่วยติดตามข้อมูลตั้งแต่ ตำแหน่งที่อยู่ ไปจนถึงสุขภาพของสัตว์ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ด้าน Cattle Monitoring เช่น SCR by Alflex และ Cowlar เป็นต้น

องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO (Food and Agriculture Organization of the United Nations) ได้เสนอแนวคิดการเกษตรที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิ หรือ Climate Smart Agriculture (CSA) ที่มุ่งเน้นการดำเนินงาน 3 เสาหลักที่สำคัญ ได้แก่

1. การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรเพื่อให้มีความมั่นคงทางอาหารและมีรายได้ภาคเกษตรอย่างยั่งยืน

2. การเสริมสร้างความยืดหยุ่นให้เกษตรกรสามารถปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและสามารถฟื้นตัวจากผลกระทบที่เกิดจากสภาพอากาศแปรปรวนทั้งในด้านการดำรงชีวิตและระบบนิเวศ

3. การลดก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมทางการเกษตร รวมถึงการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้พลังงานหมุนเวียนและการกักเก็บคาร์บอน

แนวคิด Climate Smart Agriculture SA มุ่งพัฒนาการเกษตรที่ตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากระดับล่างสู่บน ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติการในระดับท้องถิ่น และระดับไร่นา โดยเน้นการปรับตัวโดยชุมชน

นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นเพื่อสร้างขีดความสามารถในการรับมือ และลดความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยสนับสนุนให้มีการบูรณาการแนวคิด Climate Smart Agriculture เข้ากับกระบวนการทำแผนพัฒนาท้องถิ่นแบบยั่งยืน

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดทำ และดำเนินการแนวทางการปรับตัวที่อาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน การให้ความสำคัญกับองค์ความรู้ และภูมิปัญหาท้องถิ่น รวมถึงเทคโนโลยีชุมชนอย่างง่าย ซึ่งจัดเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เหมาะสมกับพื้นที่

หลักการ 10 ประการของ Climate Smart Agriculture ได้แก่

1. ใช้ประโยชน์และพัฒนาภูมิปัญญาพื้นบ้านเพื่อใช้ในระบบเกษตรกรรม

2. ส่งเสริมให้เกษตรกรมีบทบาทหลักในการพัฒนาความรู้และการวิจัยทางการเกษตร

3. ใช้ทรัพยากรจากภายใน และลดการใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอก

4. หลีกเลี่ยง และปฏิเสธการใช้สารเคมีเพื่อการเกษตร และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเชื้อเพลิงฟอสซิล

5. ให้ความสำคัญสูงสุดในการปรับปรุงบำรุงดินให้ดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน

6. ใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ สร้างความหลากหลายของกิจกรรมการผลิตทางการเกษตรในไร่นา และผสมผสานกิจกรรมการผลิตให้เกื้อกูลประโยชน์ต่อกันอย่างสูงสุดควบคุมศัตรูพืชโดยวิธีธรรมชาติ และวิธีการซึ่งไม่ใช้สารเคมีรูปแบบต่างๆ

7. ควบคุมศัตรูพืชโดยวิธีธรรมชาติ และวิธีการซึ่งไม่ใช้สารเคมีรูปแบบต่างๆ

8. ปฏิบัติต่อธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตอื่นด้วยความเคารพ

9. ผลิตอาหารที่มีคุณภาพทางโภชนาการ มีธาตุอาหารครบถ้วนในปริมาณที่เพียงพอแก่ความต้องการที่จำเป็นในการดำรงชีวิต โดยตอบสนองต่อความต้องการอาหารและปัจจัยในการดำเนินชีวิตภายในครอบครัวและชุมชนก่อนเป็นเบื้องต้น

10. เอื้ออำนวยให้เกษตรกรและชุมชนสามารถพัฒนาตนเองได้โดยปราศจากการครอบงำจากภายนอก

ตัวอย่างของ Climate Smart Agriculture สามารถจำแนกได้เป็น 6 รูปแบบสำคัญๆ ดังนี้

1. ระบบไร่หมุนเวียน

2. วนเกษตร

3. เกษตรผสมผสาน

4. เกษตรอินทรีย์

5. เกษตรธรรมชาติ

6. เกษตรทฤษฎีใหม่

ดังนั้น การดำเนินงานโครงการสร้างการปรับตัวที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศด้วย Climate Smart Agriculture ที่มุ่งเน้นการปรับตัวจากล่างขึ้นบน ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติการปรับตัว และสร้างความยืดหยุ่นที่เหมาะสมกับเกษตรกรรายย่อยทั้งในระดับไร่นา และชุมชนท้องถิ่น

อีกทั้ง ยังให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงข้อมูลความรู้ด้านการปรับตัวจากแผนปรับตัวระดับโลกและระดับชาติ เชื่อมโยงกับแผนพัฒนาท้องถิ่นและการดำเนินการในระดับไร่นาของเกษตรกร โดยส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกร องค์กรชุมชน องค์กรภาคประชาสังคม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ทั้งหมดนี้ เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญในการขับเคลื่อนงานพัฒนานวัตกรรม Climate Smart Agriculture และร่วมกันผลักดันนโยบายที่สนับสนุน Climate Smart Agriculture สู่ระดับนโยบาย เพื่อสร้างสังคมที่เป็นธรรม และยั่งยืนต่อไป

แหล่งข้อมูล

https://www.salika.co/2024/01/26/climate-smart-agriculture/


Smart City Thailand : 02 054 7755
Contact us : thunya.b@gmail.com | thunya@securitysystems.in.th

© smartcitythailand 11 โกสุมรวมใจ ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร 10210