“จีน” กับ “กฎแห่งอินเทอร์เน็ต” ฤาจะปฏิวัติวัฒนธรรมรอบใหม่

Loading

การเข้ามาจัดการใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตของรัฐบาลจีนเปรียบเสมือนการปฏิวัติวัฒนธรรมรอบใหม่ของจีน ที่ต้องมาเข้มงวดกันในโลกออนไลน์ซึ่งกำลังมีผลกระทบต่อสังคมอย่างมาก และก็อาจเป็นอีกก้าวหนึ่งในการลดความเลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ

ข้อมูลของบริษัท Hootsuite ที่เผยแพร่เดือนมกราคมปีนี้ ระบุว่า จีน เป็นประเทศที่มีจำนวนผู้ใช้งาน อินเทอร์เน็ต ที่มากที่สุดในโลก จากจำนวนผู้ใช้งานถึง 940 ล้านคน หรือคิดเป็น 65.2% ของประชากรทั้งหมด โดยมีการใช้งานเฉลี่ยวันละ 5 ชั่วโมง 22 นาที จีนมีการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ อย่างมากมาย

ซึ่งพบว่า จีนก้าวหน้าไปมากในการใช้บริการออนไลน์ ตั้งแต่ ซื้อของ ชำระเงินออนไลน์ ดูหนัง เล่นเกมส์ ตลอดจนใช้โซเชียลมีเดีย แพลตฟอร์มส่วนใหญ่เป็นของบริษัทในประเทศจีนเอง และใช้เฉพาะในหมู่คนจีน

จีนมีบริษัทด้านเทคโนโลยีขนาดใหญ่จำนวนมาก ที่พร้อมแข่งกับยักษ์ใหญ่ระดับโลก เมื่อกล่าวถึงบริษัทจีนเรามักนึกถึงความสำเร็จของ Alibaba, Tencent, ByteDance, Huawei, Xiaomi และ Didi จนบริษัทอื่นๆ ในหลายประเทศอยากก้าวตามให้ประสบความสำเร็จเช่นกัน

แต่สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นรอบปีนี้ รัฐบาลจีนเริ่มเข้มงวดกับการใช้อินเทอร์เน็ตของประชาชน ด้วยการออกมาตรการหลายอย่างขึ้นมาโดยเฉพาะคุมเข้มในกลุ่มเยาวชนต่อการเล่นโซเชียลมีเดีย และเกมส์ออนไลน์ รวมถึงมาตรการที่เข้มงวดขึ้นในการใช้ข้อมูลหรือการป้องกันการผูกขาดการค้าของบริษัทเทคโนโลยี ที่เป็นเจ้าของแพลตฟอร์มรายใหญ่ๆ ในจีน ทำให้หลายคนเริ่มแปลกใจว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น

ยอดผู้ใช้สูงที่สุด และเป็นโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มที่มีจำนวนผู้ใช้มากสุดเป็นอันดับสี่ของจีน รองจาก Weixin (WeChat), Sina Weibo และ Kuaishou โดยมีผู้ใช้สูงถึง 41% จากจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมด และเป็นโซเชียลมีเดียที่ผู้คนใช้เวลาในการเล่นโดยเฉลี่ยสูงสุดเป็นอันดับสองรองจาก WeChat คือเดือนละ 23.1 ชั่วโมง

นอกจากนี้เดือนสิงหาคมที่ผ่านมารัฐบาลจีนก็ได้ออกระเบียบให้แพลตฟอร์มเกมส์ออนไลน์นั้นต้องระบุตัวตนของผู้เล่น และห้ามเยาวชนเล่นเกมส์เกินสามชั่วโมงต่อสัปดาห์ และให้เล่นเฉพาะช่วง 8.00 – 21.00 น. ในวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ เท่านั้น ทั้งนี้จีนเป็นประเทศที่มีตลาดเกมส์ออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดของโลก โดยมีการสำรวจพบว่าเยาวชน 61% เล่นเกมส์ออนไลน์ และมีถึง 13% ที่เล่นเกมส์มากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวันในช่วงวันหยุด รวมถึงมีการซื้อ Virtual Item ในเกมส์ต่างๆ ค่อนข้างสูง

เยาวชนจีนยังมีการใช้โซเชียลมีเดียในติดตามเซเลปและดาราดังๆ ของจีนและได้เกิดปรากฎการณ์ Fan Circle ที่เป็นการบูชาเซเลปในแต่ละคน ที่เยาวชนพร้อมจ่ายเงินเพื่อติดตามเซเลปหรือบูลลี่คนอื่นๆ ที่ความเห็นแตกต่าง จนทำให้รัฐบาลจีนเป็นห่วงว่าจะเป็นการทำลายวัฒนธรรมบางอย่างของจีน และกำลังสร้างลัทธิใหม่ๆ จึงได้ออกมาตรการจำกัดกิจกรรมที่จะให้เยาวชนเหล่านี้ติดตามเซเลป

รวมถึงแอพต่างๆ ในการเฝ้าติดตาม ตลอดจนยังขอให้โซเชียลมีเดียยกเลิกจัดอันดับดารา หรือเซเลปที่มีการติดตามสูงสุด เพื่อป้องกันไม่ให้เยาวชนทุ่มเทเวลาไปกับการปั่นกระแสในโซเชียลมีเดียในแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อให้ดาราที่ตัวเองชื่นชอบขึ้นอันดับต้นๆ

ตัวอย่างเช่นเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา แพลตฟอร์ม Douyin ของบริษัท ByteDance ซึ่งคือ TikTok เวอร์ชั่นที่ใช้ในจีน ออกกฎให้เยาวชนอายุต่ำกว่า 14 ปีลงทะเบียน และให้เล่นได้เพียงวันละไม่เกิน 40 นาที ช่วงระหว่าง 6.00-22.00 น. ทั้งนี้ Douyin เป็นโมบายแอพที่มี

จีนยังได้รณรงค์ให้หน่วยงานต่างๆ กวดขันและสอดส่องดูแลข้อมูลในอินเทอร์เน็ตที่มีเนื้อหาไม่สุภาพ และอันตรายต่อสังคม โดยในปีนี้มีการปิดเว็บไวต์กว่า 4,800 เว็บ และลบเนื้อหาไปกว่า 400,000 ชิ้น รวมถึงมีการเตือนให้ลบบัญชีออนไลน์ที่ไม่เหมาะสมกว่า 8 ล้านบัญชี

สิ่งที่รัฐบาลจีนเข้ามาจัดการระบบอินเทอร์เน็ต ยังรวมถึงการเข้าไปควบคุมการใช้ข้อมูลและการผูกขาดทางธุรกิจของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ในจีน โดยเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาได้สั่งปรับบริษัท Alibaba ในข้อหาผูกขาดทางการค้าไปถึง 2.8 พันล้านเหรียญ และมีการบล็อกแอป Didi ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการเรียกรถแท๊กซี่ในจีน หลังจากที่เข้า IPO ในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา โดยรัฐบาลจีนระบุว่ามีการใช้ข้อมูลที่ไม่เหมาะสม รวมถึงล่าสุดมีการออกกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อป้องกันไม่ให้บริษัทต่างๆ นำไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

การเข้ามาจัดการใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตของรัฐบาลจีนเปรียบเสมือนการปฏิวัติวัฒนธรรมรอบใหม่ของจีน ที่ต้องมาเข้มงวดกันในโลกออนไลน์ซึ่งกำลังมีผลกระทบต่อสังคมอย่างมาก และก็อาจเป็นอีกก้าวหนึ่งในการลดความเลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ที่บริษัทเทคโนโลยีนำแพลตฟอร์มเข้ามาผูกขาด และทำให้เกิดปรากฏการณ์ Winner takes all ซึ่งจะทำให้ธุรกิจรายเล็กๆ ตลอดจนธุรกิจอื่นๆ ไม่สามารถอยู่รอดได้

โลกดิจิทัลกำลังเข้ามาเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าเราต้องปรับตัวตามกระแสโลกที่เปลี่ยนไป การแข่งขันวันนี้จำเป็นจะต้องนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้งาน และต้องเร่งสร้างให้ประชาชนมีทักษะเชิงดิจิทัล แต่ขณะเดียวกันเทคโนโลยีดิจิทัลก็อาจสร้างปัญหาทางสังคมต่างๆ มากมาย

ในบ้านเราก็ได้เห็นแล้วว่ากระแสอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียได้สร้างความแตกแยกทางสังคมอย่างรุนแรง และเข้ามาเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมที่ดีงามบางอย่าง อีกทั้งยังเริ่มเห็นว่าช่องว่างดิจิทัลกำลังทำให้เกิดความเหลี่ยมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

หากเราไม่ใส่ใจและแก้ปัญหาเหล่านี้ หาแนวทางในการกวดขันการใช้งานและการทำธุรกิจให้เหมาะสมและเป็นธรรมมากกว่านี้ ก็ไม่แน่ว่าเทคโนโลยีดิจิทัลที่คิดว่าจะมาช่วยพัฒนาประเทศอาจเป็นเทคโนโลยีในการทำลายสังคมที่ดีงามได้เช่นกัน

แหล่งข้อมูล

https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/962181


Smart City Thailand : 02 054 7755
Contact us : thunya.b@gmail.com | thunya@securitysystems.in.th

© smartcitythailand 11 โกสุมรวมใจ ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร 10210