รู้ทัน Crypto Scams มุกแฮกเกอร์ชอบใช้หลอก – จะได้ไม่เป็นเหยื่อแบบแก๊งสาธุ

Loading

  • ทำความรู้จัก Crypto Scams มุกที่เหล่ามิจฉาชีพ ใช้หลอกลวง หรือเป็นกลยุทธที่ทำให้คนตกเป็นเหยื่อในโลกดิจิทัล
  • โดย ณ เวลา ซีรีส์สาธุ ที่ฉายอยู่ทาง Netflix ก็สามารถเชื่อมโยงกับประเด็นกลโกงออนไลน์  Crypto Scams ได้
  • การหลอกในช่วงต้นเรื่อง ซีรีส์สาธุ นั้น ใช้วิธีหลอกให้เชื่อว่าเหรียญมีแนวโน้มประสบความสำเร็จ แล้วออกเหรียญ ICOs ให้นักลงทุนมาซื้อ โดยนักลงทุนต้องจ่ายเป็นเหรียญคริปโต หลังจากนั้นแฮกเกอร์ก็จะเชิดเหรียญคริปโตหนีหายไป

Crypto Scams มุกที่เหล่ามิจฉาชีพ ใช้หลอกลวง หรือเป็นกลยุทธที่ทำให้คนตกเป็นเหยื่อในโลกดิจิทัล และมุกเหล่านี้ ถูกใช้เล่าผ่านซีรีส์ สาธุ ที่กำลังฉายอยู่ใน Netflix

ณ เวลานี้ ซีรีส์สาธุ ที่ฉายอยู่ทาง Netflix เป็นที่พูดถึงในวงกว้างเป็นอย่างมาก เพราะนี่เป็นอีกหนึ่งซีรีส์ไทยที่มีเนื้อเรื่องที่น่าติดตาม อีกทั้งพูดถึงมุมหนึ่งของสังคมที่อยู่ใกล้ๆตัวของทุกคน โดยแก๊งตัวละครหลัก 3 คน ต้องไปหากินกับ พุทธพาณิชย์ เนื่องจาก เพื่อนสนิททั้ง  3 คน ทั้ง ธีรดนย์ ศุภพันธุ์ภิญโญ รับบทเป็น วิน , พชร จิราธิวัฒน์ รับบทเป็น เกม , และ อชิรญา นิติพน รับบทเป็น เดียร์ ที่ลงทุนทำธุรกิจแล้วเจ๊งติดหนี้ท่วมหัว จึงต้องหาเงินมาใช้หนี้ให้ทันเวลา

หากโฟกัสให้ดี ดูเหมือนว่าจุดพลิกผันของทั้ง 3 คน ที่เกิดช่วงต้นขึ้นซีรีส์ โดยจุดหักเกิดจากการ ถูกโกง ถูกหลอกลวง โดยถูกกลเม็ด แฮกเกอร์ เข้ามาในระบบ และพวกเขาทั้ง 3 คนถูก Crypto Scam หมายถึงการก่ออาชญากรรมในวงการคริปโต และทำให้ ตัวละครหลัก ต้องหันเห มาหาเงิน กับโมเดล ธรกิจ หากินกับพุทธพาณิชย์

แต่หากมองในโลกความจริงแล้ว , หากเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับเรา คงจะถือเป็นความทุกข์ทรมานไม่น้อย มันคงเป็นอาชญากรรมไซเบอร์ที่เหยื่อคงจะเจ็บปวดไม่น้อยเลย เพราะนี่ถือเป็นภัยร้ายของวงการเทคโนโลยีเงินดิจิทัล เนื้อร้ายของวงการคริปโต และเป็นมะเร็งร้ายของสังคม

ดังนั้น ในโลกแห่งความเป็นจริงนั้น ใครคิดอยากเป็นนักลงทุนดิจิทัล คงต้องเรียนรู้ ศึกษา และ รู้จัก Crypto Scams พร้อมอัปเดตสมอง เพิ่มความรู้ให้เท่ากันกลโกงของเหล่านักโจรกรรมข้อมูลในโลกดิจิทัลด้วย โดยกลโกงที่เหล่าแฮกเกอร์มักใช้มาบอกต่อ เพื่อเป็นความรู้และระมัดระวังก่อนเริ่มต้นลงทุนดิจิทัล จะมี ราวๆนี้

1 Rug Pulls กลโกงที่หลอกนักลงทุนต่างๆ หรือจะเรียกว่า Phishing Scam ก็ได้ โดยหลอกให้มาลงทุนในแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลที่เรียกว่า DEX หลังจากนั้นแฮกเกอร์ก็จะเชิดเงินหนีไป โดยที่ไม่สามารถตรวจสอบหรือตามกลับมาได้

2 Fack ICOs การหลอกลวงแบบนี้ จะคล้ายกับวิธีแรก แต่วิธีนี้เป็นการเปิดระดมทุนด้วยการสร้างโปรเจ็กต์หลอกลวงที่น่าสนใจ มีแนวโน้มประสบความสำเร็จ แล้วออกเหรียญ ICOs ให้นักลงทุนมาซื้อ โดยนักลงทุนต้องจ่ายเป็นเหรียญคริปโต หลังจากนั้นแฮกเกอร์ก็จะเชิดเหรียญคริปโตหนีหายไป  ซึ่งวิธีนี้ จะคล้ายคลึงกับสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงต้นซีรีส์สาธุ

3 NFT Scams สร้างเว็บไซต์ปลอมที่เหมือนเว็บไซต์ทางการ เพื่อหลอกให้นักลงทุนล็อกอิน เพื่อเอาข้อมูลส่วนตัวไป

4 Altcoins Pumps and Dumps : ลักษณะเหมือนการปั่นหุ้น ด้วยการซื้อเหรียญมาเก็บไว้ก่อน ขณะเดียวกันก็สร้างกระแสปั่นราคา ก่อนจะปล่อยเหรียญนั้นมาขายในราคาสูง  วิธีนี้มักเกิดขึ้นกับเหรียญทางเลือกหรือ altcoin ที่มีมูลค่าไม่สูง สภาพคล่องต่ำ

5 Malware : ต้องใช้ฝีมือในการเจาะเข้าระบบบัญชีหรือแอคเคาท์ ก่อนจะโอนเงินทั้งหมดออกมาจาก wallet ของคนถูกแฮก โดยแฮกเกอร์มักส่งไฟล์หรือลิงก์ที่ส่งผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย รวมทั้งอีเมลให้เราเผลอล็อกอินหรือกดเข้าไปดู

วิธีรับมือและหลีกเลี่ยง การหลอกลวงแบบ Crypto Scam

หากลองขยายความต่อยอด เมื่อเราเรียนรู้ Crypto Scam แล้ว สิ่งที่จะเป็นประโยชน์ไปมากกว่าเรียนรู้ ก็คือ ต้องมีวิธีรับมือ และ หลีกเลี่ยงกลโกงต่างๆในโลกออนไลน์เหล่านี้ให้ได้ด้วย โดยวิธีการมีดังนี้

1 ตรวจสอบความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของที่อยู่เว็บไซต์ทุกครั้งก่อนล็อกอิน

และไม่ควรคลิกลิงก์ที่แนบมากับอีเมล เพราะอาจเป็นอีเมลที่เชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชัน Phishing ได้

2 ไม่อนุญาตให้ Technical Support ทำการ Remote มาที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา

3 ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของผู้ชักชวนให้ลงทุนบริการใหม่ ๆ

4 อย่าเห็นแก่ “ของฟรี” และกำไรในชั่วข้ามคืน

5 หากพบเห็นรหัสผ่านหรือข้อมูลส่วนตัวในอีเมลข่มขู่ ให้ทำการเปลี่ยนรหัสผ่านทันที

โดยภาพรวมแล้ว , จะเห็นได้ว่า มีภัยที่มาในรูปแบบมิจฉาชีพที่มาล่อลวงเอาเงินในโลกออนไลน์ แบบที่ แก๊งสาธุเจอ ในช่วงต้นของซีรีส์ แต่ก็ไม่ใช่ว่าสินทรัพย์ดิจิทัลจะไม่มีข้อดีเลย เพราะก็ยังถือว่าเป็นการลงทุนในยุคใหม่ที่เป็นอนาคตทางการเงินด้วย

ทางที่ดีที่สุดในการกระโจนเข้าไปลงทุนในตลาดของสินทรัพย์ดิจิทัล นอกจากที่จะต้องศึกษาหาข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจกับตลาดแล้ว การหาข้อมูลเกี่ยวกับมิจฉาชีพและคดีต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็จะช่วยให้สามารถป้องกันภัยจากมิจฉาชีพได้ด้วยเช่นกัน

แหล่งข้อมูล

https://www.springnews.co.th/digital-tech/technology/849205


Smart City Thailand : 02 054 7755
Contact us : thunya.b@gmail.com | thunya@securitysystems.in.th

© smartcitythailand 11 โกสุมรวมใจ ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร 10210