เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ที่ผ่านมา นอกจาก AIS Business จะเปิดตัว AIS EEC – Evolution Experience Center หรือ ศูนย์นวัตกรรมดิจิทัลเพื่อธุรกิจแห่งแรกที่ตั้งอยู่ใจกลาง Thailand Digital Valley ภายในพื้นที่ EEC เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้เทคโนโลยีโครงสร้างดิจิทัล 5G และ Platform และเป็นพื้นที่ทดลอง ทดสอบ การใช้เทคโนโลยีกับการ Transform ภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมเสมือนจริงแล้ว
ในโอกาสนี้ ทาง AIS Business ยังได้ประกาศความพร้อมในการยกระดับ ทักษะดิจิทัลเทคโนโลยี ให้กับบุคลากรและตลาดแรงงานให้มีขีดความสามารถพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทุกรูปแบบ ผ่านการทำงานร่วมกับ คณะทำงานด้านการพัฒนาบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC HDC ด้วยการลงนามความร่วมมือกับทั้ง 8 ศูนย์ EEC Nets หรือศูนย์เชี่ยวชาญความเป็นเลิศด้านอุตสาหกรรม ด้วย
โดยทั้ง 8 ศูนย์ EEC Nets ประกอบด้วย 1. ศูนย์ความเป็นเลิศด้าน Automation 2. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการท่องเที่ยว 3. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านยานยนต์ไฟฟ้า 4. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านพาณิชยนาวี 5. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านแมคคาทรอนิกส์ 6. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านอากาศยาน 7. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ และ 8. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยี Digital AI & 5G ซึ่งทั้ง 8 ศูนย์ อยู่ภายใต้การดูแลของ 3 มหาวิทยาลัย 1 วิทยาลัยอาชีวศึกษา และ 2 สถาบันฝึกอบรม ได้แก่ มหาวิทยาลัยบูรพา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ, วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ, สถาบันพัฒนาบุคลากรสาขาเทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ และสถาบันไทย-เยอรมัน
AIS Business เปิดตัว AIS EEC – Evolution Experience Center ศูนย์เรียนรู้ทักษะดิจิทัลแห่งใหม่ พร้อมต่อยอดสู่การพัฒนาบุคลากรภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่อีอีซี
ทั้งนี้ ในพิธีลงนามความร่วมมือ ภูผา เอกะวิภาต รักษาการหัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร AIS กล่าวให้ข้อมูลเพิ่มเติมถึงการเปิดตัว AIS EEC – Evolution Experience Center หรือ ศูนย์นวัตกรรมดิจิทัลเพื่อธุรกิจ รวมถึงความร่วมมือกับทางศูนย์ EEC Nets ในครั้งนี้ว่า
“ในฐานะผู้ให้บริการดิจิทัลโซลูชันส์และ ICT สำหรับองค์กรภาคธุรกิจ ด้วยแนวคิด AIS Business Digital Evolution: Sustainable Business for a Sustainable Nation จึงพร้อมสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายด้านอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ ให้เติบโต อุ่นใจ อย่างยั่งยืน รับมือความท้าทาย ผ่านการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ชั้นนำระดับโลกและหน่วยงานหลักด้านนวัตกรรม รวมไปถึงสถาบันการศึกษา ทั้งภาครัฐและเอกชน ผ่าน 5 ขุมพลังด้านดิจิทัล ประกอบด้วย
- 5G Ecosystem ขุมพลัง 5G อัจฉริยะ จากศักยภาพและคลื่นความถี่ซึ่งมีมากที่สุดในรูปแบบหลากหลายทั้ง Network Slicing, Private Network เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- Intelligent Network and Infrastructure ขุมพลังแห่งโครงสร้างพื้นฐานอัจฉริยะ เพื่อยกระดับการบริหารจัดการองค์กรและการประมวลผลข้อมูลอย่างรวดเร็วและปลอดภัยในยุคปัจจุบัน พร้อมให้บริการตอบโจทย์ทุกองค์กร ครบครันตั้งแต่ On-Premise Cloud ไปจนถึงระดับไฮเปอร์สเกล พร้อมที่จะให้องค์กรต่างๆ สามารถแสดงความจำนงการใช้บริการ ศูนย์ GSA ดาต้าเซ็นเตอร์
- AI and Data Analytics ขุมพลังแห่งปัญญาประดิษฐ์ เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก ที่พร้อมเปิดตัวบริการ Analytic X บริการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก (Data Insight)
- Digital Platform and APIs ขุมพลังแห่งการเชื่อมต่อ แพลตฟอร์มการสื่อสารในรูปแบบบนคลาวด์ ที่ช่วยยกระดับการสื่อสารขององค์กร ให้สามารถสื่อสารได้แบบเรียลไทม์ ทั้ง เสียง วิดีโอ และ SMS
- Industry Transformation ขุมพลังการยกระดับภาคอุตสาหกรรม เพื่อสนับสนุนให้มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปทรานสฟอร์มองค์กร โดยเน้นให้ความสำคัญกับองค์กรในทุกระดับ โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต, ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์, ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และค้าปลีก, ธุรกิจ SME, องค์กรสาธารณะและภาครัฐ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่ EEC จึงเป็นที่มาของการทำงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง
และจากขุมพลังด้านดิจิทัลที่แข็งแกร่งของ AIS นี้เอง ที่นำสู่การเปิด AIS EEC – Evolution Experience Center หรือ ศูนย์นวัตกรรมดิจิทัลเพื่อธุรกิจ ซึ่งนอกจากจะเปิดกว้างให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามาเยี่ยมชม เพื่อเรียนรู้และอัปเดตเทคโนโลยีดิจิทัลล้ำสมัยแล้ว ทาง AIS Business ยังจะต่อยอดให้ศูนย์ AIS EEC เป็นแหล่งเรียนรู้ ทักษะดิจิทัลเทคโนโลยี ของนักศึกษา และบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมของไทยด้วย โดยแน่นอนว่ากลุ่มเป้าหมายหลัก คือ บุคลากรในพื้นที่อีอีซี นั่นเอง
“จากการที่ AIS ได้พูดคุยและทำงานร่วมกันกับ คณะทำงานประสานงานด้านการพัฒนาบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC HDC) ทำให้เราเห็นตรงกันว่าการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาในภาคอุตสาหกรรมเป้าหมาย หรือ S-curve ทั้ง 12 อุตสาหกรรมในไทยนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการปรับเอาเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตของแต่ละอุตสาหกรรม ซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ๆนั้นนับเป็นทักษะใหม่ที่ต้องเร่ง Upskill ให้กับบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม”
“ด้วยเหตุนี้ AIS จึงต้องการเป็นส่วนหนึ่งของการอัปเดตความรู้ให้คนที่ทำงานในภาคอุตสาหกรรม โดยใช้จุดแข็งของ AIS ที่มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลเทคโนโลยีที่หลากหลาย มาให้ความรู้และร่วมอบรมทักษะดิจิทัล เช่น ที่ผ่านมา ทาง AIS ได้ร่วมมือกับ สถาบันไทย-เยอรมัน (TGI) ที่เน้นพัฒนาและ Upskill ทักษะของคนทำงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิต โดยเฉพาะทักษะสำคัญที่เกี่ยวกับระบบออโตเมชั่น หุ่นยนต์”
“และล่าสุดเมื่อมีเทคโนโลยีทางฝั่งไอทีออกมา โดยเฉพาะเทคโนโลยี 5G ซึ่งเดิมคนทางฝั่งโรงงานบางส่วนก็อาจจะยังไม่ความเข้าใจว่า เทคโนโลยี 5G จะสามารถนำไปปรับใช้เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตในโรงงานได้อย่างไรบ้าง”
“AIS จึงไปร่วมออกแบบและพัฒนาหลักสูตรกับทาง TGI ที่เกี่ยวกับการพัฒนา 5G กับภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะอบรมในเรื่องของเทคนิคการเชื่อมต่อ 5G กับเครื่องจักร ระบบอัตโนมัติ และหุ่นยนต์ ตลอดจนการเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมเครื่องจักรผ่าน 5G และขึ้นสู่ระบบคลาวด์ได้อย่างไร”
“โดยโมเดลความสำเร็จในรูปแบบนี้เอง ที่เราจะนำไปต่อยอดและทำงานร่วมกับทั้ง 8 ศูนย์ความเชี่ยวชาญฯที่ได้ลงนามความร่วมมือไป เพื่อให้เกิดหลักสูตรใหม่ๆ พัฒนาทักษะดิจิทัลของบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมได้เร็วและทันกับความต้องการของตลาดแรงงานขึ้น”
8 ศูนย์ EEC Nets กับความพร้อมต่อยอดความร่วมมือกับ AIS มุ่งเป้า Upskill บุคลากร ตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่อีอีซี
ด้าน ดร.อภิชาต ทองอยู่ ประธาน EEC HDC ได้กล่าวถึงความสำคัญของการลงนามความร่วมมือครั้งนี้ว่า
“การลงนามความร่วมมือนี้เป็นความร่วมมือครั้งสำคัญที่จะยกระดับฐานทักษะสมรรถนะด้านดิจิทัล AI และ 5G อย่างมีนัยสำคัญ เพื่อวาง Landscape ของการศึกษา การพัฒนาบุคลากร รวมทั้งอุตสาหกรรมยุคใหม่ โดยความร่วมมือกับศูนย์เครือข่ายเชี่ยวชาญการพัฒนาบุคลากรของ EEC ทั้ง 8 ศูนย์เครือข่ายนี้จะสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีอนาคตต่อการศึกษาและการผลิตบุคลากรที่ส่งผลต่อการยกระดับอุตสาหกรรมโดยรวมเข้าสู่เศรษฐกิจใหม่ที่มีมูลค่ามหาศาล และเป็นการสนับสนุนการศึกษาและการพัฒนาบุคลากรครั้งสำคัญ ที่จะส่งผลตั้งแต่ฐานรากการพัฒนาบุคลากรและการศึกษาสู่เศรษฐกิจยุคใหม่อย่างมีอนาคต”
“โดยพื้นฐานแล้วทั้ง 8 ศูนย์เครือข่ายนี้ได้ร่วมพัฒนาภาคอุตสาหกรรมใน EEC ยกระดับการผลิตและบริการสร้างมูลค่าหลายแสนล้านมาตั้งแต่ปี 2563 จนปัจจุบัน มาในวันนี้ ความร่วมมือระหว่าง AIS กับ 8 ศูนย์ฯที่มีขึ้นนี้จะเป็นฐานสำคัญขับเร่งสร้างความก้าวหน้าให้การศึกษาและการพัฒนาเศรษฐกิจยุคใหม่อย่างมีนัยสำคัญ”
ทั้งนี้ ในพิธีลงนามความร่วมมือ มีคณาจารย์ผู้บริหารศูนย์ EEC Nets ทั้ง 8 ศูนย์ มาร่วมให้ข้อมูลภารกิจของแต่ละศูนย์ด้วย
ศูนย์ความเป็นเลิศด้าน Automation มีแหล่งเรียนรู้สำคัญอยู่ที่ EEC Automation Park ตั้งอยู่ที่ มหาวิทยาลัยบูรพา โดย EEC Automation Park เป็นศูนย์ศึกษา เรียนรู้ ที่มีอุปกรณ์ เครื่องมือ ในระบบ Factory 4.0 หรือ Industry 4.0 ที่สมบูรณ์ที่สุด แห่งหนึ่งใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งที่ผ่านมา เราเปิดรับผู้เข้ามาเยี่ยมชม มาดูงาน มาเรียนรู้ รวมถึงจัดหลักสูตรอบรมระยะสั้นให้กับบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม และนักศึกษาที่ต้องการมาต่อยอดทักษะเฉพาะมาโดยตลอด
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการท่องเที่ยว มีศูนย์การเรียนรู้หลักอยู่ที่ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา และยังเป็นที่ตั้งของ Tourism Innovation Lab (TIL) ซึ่งเป็นสถานที่ฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรในสาขาการท่องเที่ยวและบริการ ที่ตอบโจทย์ทุกมิติด้านหารท่องเที่ยวและบริการ และศูนย์นี้ยังเป็น sandbox เพื่อทดลองนวัตกรรมและสิ่งใหม่ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจท่องเที่ยวและบริการอีกด้วย
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านยานยนต์ไฟฟ้า มีศูนย์การเรียนรู้หลักอยู่ที่ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งไม่เพียงมีเป้าหมายในการพัฒนาทักษะ ความสามารถของบุคลากรเพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการ Upskill บุคลากรตอบโจทย์อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงที่มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านพาณิชยนาวี มีศูนย์การเรียนรู้หลักอยู่ที่ คณะพาณิชยนาวีนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ซึ่ง ศูนย์นี้ได้ชื่อว่ามีชุดเครื่องมือจำลองที่ใช้ในการเรียนการสอนด้านพาณิชยนาวีที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย จึงเป็นแล็บ “พาณิชยนาวี” แห่งเดียวในประเทศที่ใช้ในการเรียนการสอน การอบรม เพื่อ Upskill-Reskill บุคลากรด้านนี้ได้อย่างครบวงจร
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านแมคคาทรอนิกส์ มีศูนย์การเรียนรู้หลักอยู่ที่ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ และมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาบุคลากรด้านหุ่นยนต์ แมคคาทรอนิกส์ และระบบอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ที่สร้างบุคลากรเข้าสู่การผลิตยุคใหม่ สนับสนุนการพัฒนาระบบโรงงานให้ปรับตัวเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรม 4.0
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านอากาศยาน มีศูนย์การเรียนรู้หลักอยู่ที่ สถาบันการบิน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ หรือเรียกอีกชื่อว่า EEC Aviation Center ซึ่งสถาบันการศึกษาทั้งสองแห่งมีความเชี่ยวชาญด้านการผลิตกำลังคนช่างอากาศยานมาอย่างยาวนาน ด้วยหลักสูตรที่ได้มาตรฐานและได้รับการรับรองจากองค์การการบินระดับโลก และในการทำงานของศูนย์นี้ยังได้ฝ่ายวิศวกรรมและซ่อมบำรุงอากาศยาน สายการบิน ไทย ไลอ้อน แอร์ เป็นตัวแทนภาคอุตสาหกรรม ที่มาทำงานร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนภารกิจการเร่งพัฒนาบุคลากรให้ทันต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมการบินของไทย
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ มี สถาบันพัฒนาบุคลากรสาขาเทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (MARA) เป็นสถาบันฝึกอบรมที่มีบทบาทสำคัญในการจัดหลักสูตรระยะสั้นให้กับบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม เพื่อติดตั้งทักษะสำคัญที่จำเป็นต้องใช้ในการทำงานกับระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ โดยที่ผ่านมามีการจัดหลักสูตรในรูปแบบ EEC Model Type B อย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น ยังมี สมาคมผู้ประกอบการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไทย หรือ สมาคม TARA ที่พร้อมร่วมมือกับภาคการศึกษา ภาคเอกชน สร้างเครือข่ายในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทยให้เข้าถึงเทคโนโลยีการผลิตด้วยระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยี Digital AI & 5G โดยศูนย์นี้ มี สถาบันไทย-เยอรมัน หรือ TGI เป็นสถาบันที่จัดหลักสูตรระยะสั้น ตอบสนองความต้องการของบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมที่จะได้มา Upskill Reskill และสร้าง New Skill ให้มีความรู้และทักษะในการผลิตยุคใหม่เพื่อตอบโจทย์เทรนด์ Manufacturing 4.0
แหล่งข้อมูล