นอกจาก AI หรือปัญญาประดิษฐ์ จะนำโอกาสมหาศาลที่ไม่เคยมีมาก่อนมาสู่ธุรกิจ ยังนำมาซึ่งรวมถึงความรับผิดชอบที่เหลือเชื่อด้วย เพราะมันส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตของผู้คน ซึ่งนั่นทำให้เกิดคำถามมากมายกับองค์กรต่างๆ เกี่ยวกับจริยธรรมของ AI การกำกับดูแลข้อมูล ความไว้วางใจ และการดำเนินการที่ถูกต้องตามกฎหมาย
อันที่จริงแล้วการวิจัย Tech Vision ในปี 2022 ของ Accenture พบว่าผู้บริโภคทั่วโลกเพียง 35% เท่านั้นที่ไว้วางใจ AI ที่ถูกนำไปใช้งานโดยองค์กรต่างๆ และ 77% คิดว่าองค์กรต้องรับผิดชอบต่อการใช้ AI ในทางที่ผิด
ขณะที่บทความเรื่อง Responsible AI – AI ที่สามารถไว้วางใจได้ จาก PwC ประเทศไทย ชี้ว่าอัลกอริทึม AI ที่มีการนำเข้าข้อมูลตามสภาพความเป็นจริง โดยไม่มีการควบคุมปัจจัยต่างๆ และเป็นไปตามความชอบส่วนบุคคล อาจนำมาซึ่งความเสี่ยงที่จะเรียนรู้และเลียนแบบอคติของมนุษย์ได้ จนเกิดความเสี่ยงด้านปฏิบัติการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ข้อผิดพลาด ความไม่ชัดเจน ความไม่นอนด้านประสิทธิภาพ และการขาดกระบวนการให้ข้อเสนอแนะ
นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงทางเศรษฐกิจต่างๆ เช่น การใช้ระบบอัตโนมัติแทนที่แรงงานมนุษย์ การผูกขาดอำนาจของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง หรือกลุ่มทุนใดกลุ่มทุนหนึ่ง และความเสี่ยงที่จะต้องรับความผิดทางกฎหมาย เป็นต้น
ดังนั้นความกดดันที่จะเพิ่มขึ้นอย่างยิ่งยวดคือ เมื่อองค์กรต่างๆ เริ่มขยายขอบเขตการใช้ AI เพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ ก็จำเป็นจะต้องคำนึงถึงกฎระเบียบใหม่ หรือที่กำลังพิจารณา และขั้นตอนที่ต้องดำเนินการ เพื่อให้แน่ใจว่าองค์กรของตนปฏิบัติตามข้อบังคับหรือข้อกำหนดเหล่านั้นได้ และนั่นก็คือบทบาทของ AI ที่มีความรับผิดชอบ หรือ AI ที่มีความไว้วางใจได้
ทั้งนี้ AI ที่มีความรับผิดชอบ หรือ AI ที่มีความไว้วางใจได้ (Responsible AI, AI Ethics) คือแนวปฏิบัติในการออกแบบ พัฒนา และปรับใช้ AI ด้วยความตั้งใจที่ดีในการเพิ่มศักยภาพให้กับพนักงานและธุรกิจ และส่งผลกระทบอย่างเป็นธรรมต่อลูกค้าและสังคม ซึ่งทำให้องค์กรต่างๆ สามารถสร้างความไว้วางใจและขยายขอบเขตการใช้ AI ได้อย่างมั่นใจ
Responsible AI จึงได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้เป็นกรอบวิธีการปฏิบัติงานที่สามารถปรับแต่งได้ โดยประกอบไปด้วยเครื่องมือและกระบวนการต่างๆ ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้สามารถควบคุมและใช้ประโยชน์ AI ได้อย่างมีจริยธรรมและมีความรับผิดชอบ ตั้งแต่ระดับกลยุทธ์ ไปจนถึงการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติจริง และเมื่อมีการปรับใช้อย่างเหมาะสมแล้ว ก็จะสามารถตอบสนองความการของธุรกิจได้โดยไม่ทำให้เกิดผลเสียหายตามมา กล่าวคือด้วย AI ที่มีความรับผิดชอบ องค์กรต่างๆ จะกำหนดวัตถุประสงค์หลักและกำหนดกลยุทธ์การกำกับดูแลได้ รวมถึงสร้างระบบที่ช่วยให้ AI และธุรกิจเติบโตได้ภายใต้กรอบจริยธรรมและกฎหมาย
เพราะ Responsible AI ลดอคติที่ไม่ตั้งใจให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อให้แน่ใจว่าอัลกอริทึม และข้อมูลพื้นฐานเป็นกลางและเป็นตัวแทนมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ขณะที่การพัฒนา AI ที่อธิบายได้ (Expanable AI) ซึ่งมีความโปร่งใสในกระบวนการและหน้าที่ต่างๆ ถือเป็นการตรวจสอบความโปร่งใสของ AI เพื่อสร้างความไว้วางใจในหมู่พนักงาน คู่ค้า ผู้ถือหุ้น และลูกค้า
ที่สำคัญยังเป็นการปกป้องความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูลเพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลส่วนบุคคลและ/หรือข้อมูลที่ละเอียดอ่อนจะไม่ถูกนำไปใช้อย่างผิดจรรยาบรรณ
นอกจากนี้ ยังช่วยให้คนในองค์กรตั้งข้อสงสัยหรือข้อกังวลเกี่ยวกับระบบ AI และควบคุมเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ขัดขวางนวัตกรรม
ทั้งนี้ จากรายงาน Global Artificial Intelligence Study: Exploiting the AI Revolution ของ PwC คาดการณ์ว่า AI จะส่งผลให้จีดีพีโลก เติบโตขึ้นถึง 15.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2573 จากการที่ AI เข้ามาช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับกระบวนการผลิต ตลอดจนอุปสงค์ในการซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้นด้วย โดย AI จะเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในทุกภาคส่วนของอุตสาหกรรม ตั้งแต่ระบบอัตโนมัติที่อยู่เบื้องหลังการผลิต การให้บริการลูกค้า และการขาย
แหล่งข้อมูล