เมืองอัจฉริยะ (Smart City) เป็นเมืองที่ออกแบบวางแผน เพื่อการอยู่อาศัยในอนาคต โดยคำนึงถึงคุณภาพสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิต และสังคมวัฒนธรรม
เมืองอัจฉริยะเป็นการประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัล หรือข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสารในการเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของการบริหารจัดการเมือง สิ่งแวดล้อม การศึกษา และการบริการชุมชน เพื่อช่วยในการลดต้นทุน และลดการบริโภคของประชากร โดยให้ประชาชนสามารถอยู่อาศัยได้ในคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การพัฒนาเมืองอัจฉริยะมีการพัฒนาในหลายด้าน ทั้งหน่วยงานราชการ การจราจรและขนส่ง พลังงาน สาธารณสุข โครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค
โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการจัดการเมืองและชุมชน และการตอบสนองแบบทันท่วงที
เมืองอัจฉริยะได้เริ่มต้นขึ้นจากแนวคิดการพัฒนาระบบการสื่อสารและบริการรูปแบบใหม่ของสหภาพยุโรป หรือ EU โดยเริ่มต้นจากยุทธศาสตร์ที่กลุ่มประเทศสหภาพยุโรปได้ร่วมกันตั้งขึ้นคือ “2010” ในปี ค.ศ.2005 และปีถัดมาประเทศสิงคโปร์ได้ประกาศจัดตั้ง “มณฑลอัจฉริยะ 2015” เป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศที่มีระบบข้อมูลข่าวสารเทคโนโลยียุคใหม่ที่ชี้นำการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ หลังจากนั้นในปี ค.ศ.2008 เมืองโบเดอร์ สหรัฐอเมริกา ได้ริเริ่มโครงการ “Smart Grid City” เพื่อผสมผสานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยลงไปในพื้นที่เมืองเดิม
แนวคิดของเมืองอัจฉริยะ ไม่ใช่เป็นแค่โครงสร้างพื้นฐานที่มีความทันสมัย หรือมีความทันสมัยในเรื่องการสื่อสารเท่านั้น เมืองอัจฉริยะจะต้องบูรณาการด้านพลังงาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยีอื่นๆ รวมทั้งเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การขนส่งจราจรสะดวกสบาย การจัดการของเสียจากเมือง การป้องกันอาชญากรรม การรักษาวัฒนธรรม การออกแบบสำหรับทุกคน และการเอื้ออาทรของพลเมือง ทั้งนี้ เนื่องจากอีกไม่กีปีข้างหน้า จะมีประชากรมากกว่า 70% อาศัยอยู่ในเมือง ทำให้เมืองประสบปัญหามากมาย ในไม่ช้าเมืองทุกขนาดจะประสบปัญหาเดียวกันหมด ดังนั้น สหประชาชาติ สหภาพยุโรป ธนาคารโลก และองค์กรอื่นๆ จึงได้ร่วมมือกันสร้างเวทีระดมความคิด สติปัญญาในการแก้ไขปัญหาของเมืองโดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาเป็นกลไกสำคัญของการแก้ไขปัญหา
แนวคิดหนึ่งในการแก้ไขปัญหาคือ การสร้างให้เมืองเป็นเมืองที่มีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม หรือใช้คำว่า Green City แนวทางของการใช้ Internet of Things หรือ IoT ถูกนำมาใช้กับระบบเซ็นเซอร์ของอุปกรณ์ต่างๆ เช่นระบบ SCADA ในการควบคุมระยะไกล ระบบสมาร์ทกริด ระบบสื่อสารข้อมูลอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง มาเชื่อมต่อกับอุปกรณ์สมาร์ทต่างๆ เช่น Smart Home, Smart Office, Smart Buses, Smart Traffic, Smart Classroom, Smart SMEs, Smart Irrigation, Smart Communities และอื่นๆ
หลักการสำคัญของเมืองอัจฉริยะ ที่เป็นที่เข้าใจและยอมรับกันอย่างกว้างขวาง จะประกอบไปด้วย
1.มีการใช้ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ถนน อาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่เมืองอย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อสนับสนุนสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในเมืองให้เข้มแข็ง
2.มีความยืดหยุ่นสูง ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศง่ายต่อการเรียนรู้ ใช้งาน ประยุกต์และปรับเปลี่ยน และตอบสนองความต้องการเมืองรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ
4.เป็นเมืองแห่งคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข ปลอดภัย ไม่มีอาชญากรรม เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาอยู่ตลอดเวลา
การสร้างและพัฒนาเมืองอัจฉริยะ นับได้ว่าเป็นการลงทุนที่มีต้นทุนสูง ทั้งต้นทุนด้านกายภาพ ต้นทุนด้านเทคโนโลยี และต้นทุนทางบุคลากรและสังคม วิธีการสำคัญประกอบด้วยรายละเอียดดังต่อไปนี้
ขอบคุณแหล่งข้อมูล
www.matichon.co.th/economy/news_1745464