ส่อง 5 AI Prompts ใช้ได้กับทุกแชตบอท ChatGPT Gemini Claude Copilot

Loading

  • แจก 5 Prompts ใช้ได้กับทุกแชตบอท เช่น ChatGPT, Gemini, Claude หรือ Perplexity เพื่อให้ AI ตอบเก่งขึ้นแบบมืออาชีพ
  • ครอบคลุมตั้งแต่การสรุปแบบมีรายละเอียด ขอไอเดียพร้อมเหตุผล อธิบายศัพท์ยาก ตรวจจุดบอดของแผน ไปจนถึงจัดระเบียบข้อมูล
  • เพราะ “ผลลัพธ์ดี-ไม่ดี” ไม่ได้ขึ้นกับบอทที่ใช้ แต่อยู่ที่ว่าเราพิมพ์คำสั่งยังไงต่างหาก!

แจก 5 Prompts ใช้ได้กับทุกแชตบอท! ChatGPT, Gemini, Claude, Copilot Perplexity DeepSeek สั่งยังไงให้ AI ตอบเก่งขึ้นแบบมืออาชีพ

ณ เข็มนาฬิกาดิจิทัลเดินไปในปี 2025  AI ไม่ได้เป็นแค่ของเล่น แต่เป็น “ผู้ช่วยประจำวัน” ในการคิด เขียน ทำงาน หรือวางแผนชีวิต หลายคนอาจคุ้นกับชื่อ ChatGPT, Gemini, Claude, Perplexity หรือ DeepSeek กันบ้างแล้ว แต่สิ่งที่ทำให้ “ผลลัพธ์ดี-ไม่ดี” ไม่ได้อยู่ที่ว่าเราใช้บอทตัวไหน — แต่อยู่ที่ว่า เราสั่ง AI อย่างไร ต่างหาก

ต่อไปนี้คือ 5 Prompts เด็ด ที่ใช้ได้กับทุกแชตบอท ไม่ว่าจะเป็น Content  มาร์เก็ตติ้ง เขียนบทความ หรือการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ ลองเอาไปปรับใช้ได้เลย ตามแต่บริบทงานของแต่ละคน

1.สรุปโดยไม่เสียรายละเอียดสำคัญ

Prompt:

Summarize this without losing nuance

(ความหมายของพรอมต์ คือให้ สรุปสิ่งนี้โดยไม่ให้รายละเอียดหรืออารมณ์หลุดหายไป)

ใช้เมื่อ: ต้องการสรุปบทความ รายงาน หรือการแปล โดยไม่ให้ประเด็นสำคัญหรือโทนภาษาหลุดหาย

เหมาะกับ: งานเอกสารทางกฎหมาย รายงานประชุม บทความยาว

เทคนิคเสริมในการใช้ Prompt นี้ :

Summarize this without losing nuance. Keep key quotes and stats where relevant and note any conflicting points or important tone shifts.

สรุปโดยไม่ละทิ้งรายละเอียดหรือความหมายที่ซ่อนอยู่ รักษาคำพูดสำคัญและสถิติไว้ในจุดที่เกี่ยวข้อง ระบุประเด็นที่ขัดแย้งกัน-การเปลี่ยนแปลงโทนเนื้อหาที่สำคัญด้วย

2.ขอไอเดียใหม่ ความคิดใหม่ๆ พร้อมเหตุผลประกอบ

Prompt:

Give me 3 ideas for [X], and explain why each one could work 

(ขอไอเดีย 3 ข้อ เกี่ยวกับ [หัวข้อ] พร้อมอธิบายว่าแต่ละข้อมีโอกาสสำเร็จอย่างไร)

ใช้เมื่อ: อยากได้ไอเดียใหม่แบบไม่ใช่แค่โยนชื่อมา แต่มี “เหตุผล” ให้ต่อยอดได้

เหมาะกับ: แคมเปญ, คอนเทนต์โซเชียล, การตั้งชื่อแบรนด์

ต่อยอดได้ด้วยคำสั่ง:

  • Rank these based on originality. (ให้ช่วยจัดลำดับ)
  • Which one would perform best on Instagram? (แนวคิดไหนเหมาะกับแพลตฟอร์มใด ในที่นี้หมายถึง IG)
  • Combine idea 1 and 3 into something more unique. (ให้รวมแนวคิดให้โดดเด่นขึ้น)

3.อธิบายศัพท์ยากให้คนทั่วไปเข้าใจ

Prompt: Act like an expert in [field] and explain this in plain English

(ช่วยอธิบายเรื่องนี้ในแบบที่คนทั่วไปเข้าใจ เหมือนคุณเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น)

ใช้เมื่อ: เจอคำศัพท์เทคนิคที่คนทั่วไปอาจไม่เข้าใจ เช่น ด้านกฎหมาย การแพทย์ หรือวิทยาศาสตร์

เหมาะกับ: คู่มือสินค้า, เอกสารทางวิชาการ, เงื่อนไขประกัน

คำสั่งเสริมที่ใช้ได้ดี:

  • Explain this to someone without a law degree. (อธิบายเรื่องนี้แบบที่คนไม่รู้กฎหมายก็เข้าใจได้)
  • Break this down for a parent of a child with an IEP. (อธิบายเรื่องนี้ให้กับผู้ปกครองที่มีลูกอยู่ในแผนการเรียนเฉพาะบุคคล (IEP) เข้าใจง่ายที่สุด)

4.ตรวจจุดบอดของแผนหรือไอเดีย

Prompt:

What am I missing here?

(ฉันพลาดอะไรไปไหมในแผนนี้หรือไม่ ?)

ใช้เมื่อ: ต้องการให้ AI ช่วยมองในมุมที่คุณอาจพลาด — แบบ Devil’s Advocate หรือนักวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์

เหมาะกับ: แผนธุรกิจ, pitch deck, สคริปต์, รายการงานประจำวัน

คำสั่งต่อยอดจาก  Prompt นี้

From an outside perspective, what am I missing, underestimating, or getting wrong?

Assume you’re an investor / Respond like a skeptical parent.

  • Talk to me like I’m new to investing and don’t want to sound clueless. (พูดกับฉันเหมือนเป็นคนที่เพิ่งเริ่มลงทุน)

5.แปลงข้อมูลยุ่งเหยิงให้เป็นรูปแบบที่ใช้ง่าย

Prompt:

Turn this into a checklist / table / calendar / step-by-step plan

(ช่วยจัดข้อมูลนี้ให้อยู่ในรูปแบบเช็กลิสต์ ตาราง ปฏิทิน หรือขั้นตอนทีละขั้น)

ใช้เมื่อ: มีข้อมูลเยอะในหัว แต่อยากให้ AI ช่วยจัดระเบียบให้พร้อมใช้งานทันที

เหมาะกับ: ตารางคอนเทนต์, แผนเดินทาง, โปรเจกต์

คำสั่งเสริม:

  • Turn this into a Notion-style table with columns for due date, priority, and status. (จัดข้อมูลนี้ให้อยู่ในรูปแบบตารางสไตล์ Notion โดยมีคอลัมน์สำหรับกำหนดส่ง ความสำคัญ และสถานะ)
  • Color-code by urgency: red for urgent, yellow for medium, green for low. (ใส่สีตามระดับความเร่งด่วน)
  • Add estimated time to complete next to each step (เพิ่มเวลาที่คาดว่าจะใช้ในการทำงานแต่ละขั้นตอน)

“AI ไม่ได้ฉลาดกว่าคน… ถ้าคนไม่ฉลาดใช้มัน”

เขียน พรอมต์ Prompt ดีๆ คือคีย์สำคัญที่ช่วยปลดล็อกความสามารถของแชตบอทให้ทำงานแทนคุณได้อย่างแม่นยำและสร้างสรรค์

แหล่งข้อมูล

https://www.springnews.co.th/digital-tech/technology/857334


Smart City Thailand : 02 054 7755
Contact us : thunya.b@gmail.com | thunya@securitysystems.in.th

© smartcitythailand 11 โกสุมรวมใจ ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร 10210