ชวนทำความรู้จัก Med-PaLM 2 – AI จาก Google ที่ใช้ช่วยวิเคราะห์โรค สามารถตอบคำถามด้านสุขภาพได้ ทำข้อสอบแพทย์ได้ดีมาก แต่ยังต้องพัฒนาต่อไปก่อนใช้จริงกับผู้บริโภคต่อไป
นี่คือยุคที่ AI มีบทบาทในทุกๆวงการ จะเกี่ยวพันมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับเนื้อหาและรายละเอียด และในวงการแพทย์ก็มีความพยายามที่จะใช้ AI เข้ามามีส่วนช่วยแพทย์ทำงานเช่นเดียวกัน ซึ่ง ณ เวลานี้ มี ตัวหนึ่งที่น่าสนใจมาก นั่นคือ Med-PaLM 2 แพลตฟอร์ม AI จาก Google
โดย Med-PaLM 2 แพลตฟอร์ม AI จาก Google นั้น เคยประกาศให้ผู้คนทั่วไปรับรู้ถึงการพัฒนามาตั้งแต่ช่วงปี 2022 ก่อนที่จะพัฒนามาเรื่อยๆ จนกระทั่งในงาน I/O ของ Google ในช่วงพฤษภาคม 2024 ที่ผ่านมา ได้มีการเปิดตัวโปรแกรมที่เรียกว่า ‘PaLM 2’ ซึ่งเหมือนกับ GPT-4 ของ OpenAI ซึ่งเป็นโมเดลภาษาที่มีประสิทธิภาพอย่างมาก และถูกนำไปใช้ในด้านต่าง ๆ รวมถึงการแพทย์
จุดเริ่มต้น Med-PaLM AI ทางการแพทย์ ของ Google
Med-PaLM ถูกพัฒนาขึ้นโดย Google และ Deepmind เป็นโมเดลภาษาขนาดใหญ่ที่ถูกออกแบบมาเพื่อตอบคำถามด้านสุขภาพโดยเฉพาะ โดยอ้างอิงจากโมเดล PaLM ที่มีพารามิเตอร์ 540 พันล้านตัว และยังเป็นระบบ AI ระบบแรกที่มีการนำไปทดสอบตอบคำถามแบบปรนัยที่คล้ายกับ คำถามที่ใช้ในการสอบใบอนุญาตทางการแพทย์ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้คะแนนสอบผ่านมากกว่า 60% โดย Google ได้เปิดตัว Med-PaLM ครั้งแรกเมื่อปลายปี 2022
โมเดลนี้ได้รับการเรียนรู้เกี่ยวกับชุดข้อมูล ถาม-ตอบทางการแพทย์ที่มีอยู่ทั้งหมด 6 ชุด ไม่ว่าจะเป็น NedQA, MedMCQA, PubMedQA, LiveQA, MedicationQA และ MMLU อีกทั้งทีมนักพัฒนายังสร้าง HealthSearchQA ของตนเองโดยใช้คำถามที่เกี่ยวกับ สภาวะทางการแพทย์และอาการที่เกี่ยวข้อง
ถูกพัฒนาจากตอบคำถามจากข้อสอบทางการแพทย์
Google ยังพัฒนาเทคโนโลยีนี้ต่อเป็นครั้งที่ 2 จนออกมาเป็น Med-PaLM 2 ซึ่งถูกพัฒนาให้เป็นระดับขั้น “ผู้เชี่ยวชาญ” ในการตอบคำถามจากข้อสอบทางการแพทย์ Med-PaLM 2 มีความแม่นยำในการตอบคำถามมากกว่า 85% สูงกว่าผลลัพธ์ในเวอร์ชั่นก่อนหน้านี้ถึง 18%
Med-PaLM 2 ถูกอัปเกรดขึ้นมา โดยคณะผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์จากสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และอินเดีย เพื่อให้ตอบคำถามได้ในลักษณะเดียวกันกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้
แต่ก็มีข้อสังเกตว่า แม้ โมเดล AI จะสามารถเข้าใจตรรกะทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ได้ แต่ก็ไม่ได้เก่งในด้านจริยธรรมหรือศีลธรรมมากเท่าไร เพราะยังต้องได้รับการฝึกฝนอีกเพื่อปรับปรุงการปฏิบัติต่อผู้ป่วยเพิ่มเติม
ตอนนี้โมเดลยังคงมีข้อจำกัดในการทำความเข้าใจข้อความต่าง ๆ อยู่ แต่ในอนาคตอาจมีการพัฒนาและเพิ่มความสามารถอื่น ๆ เช่น ความสามารถในการเข้าใจรายงานการรักษา CT Scan หรือข้อมูลจีโนมิกส์ของคุณได้
โดยคาดว่าโมเดลจะพร้อมใช้งานในรูปแบบตัวอย่างให้กับผู้ใช้งานในอุตสาหกรรมการแพทย์ในช่วงท้ายปี 2024 นี้
ข้อดีของการที่ใช้ AI ในทางการแพทย์นั้น สิ่งที่เห็นชัดคือ ประมวลผลได้รวดเร็วทันใจทำให้งานเสร็จไวมากยิ่งขึ้น ช่วยลดอคติ และความผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์ในการทำงาน แต่ทุกอย่างย่อมมี 2 ด้าน เพราะหากผู้ใช้ขาดความเชี่ยวชาญอาจส่งผลต่อการรักษาได้ เช่นกัน
แหล่งข้อมูล