‘ชัชชาติ’ ชี้ นวัตกรรมเปลี่ยน กทม. สู่ Net Zero

Loading

“ชัชชาติ” ชี้ เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่างไม่ได้ ชูนวัตกรรมเปลี่ยนความคิดให้เป็นมูลค่า เผย กทม.พร้อมนำ CRO เปลี่ยนเมืองกรุงสู่ Net Zero

“กรุงเทพธุรกิจ” ร่วมกับ “บีไอจี” ผู้นำนวัตกรรมก๊าซอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อสภาพภูมิอากาศ (Climate Technology Company) จัดเวทีสัมมนา Climate Tech Forum : Infinite Innovation…Connecting Business to Net Zero เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.2566

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร บรรยายพิเศษหัวข้อ “นวัตกรรมเปลี่ยนกรุง” ว่า  การนำเอาเทคโนโลยีนำทางคงยากเพราะคนกรุงเทพฯ มีกว่า 10 ล้านคน แต่หานำนวัตกรรมมาใช้ก็ทำได้ เพราะนวัตกรรมเป็นไอเดีย แต่ต้องปรับความคิดให้มีมูลค่าหรือเปลี่ยนให้เป็น Value ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีมาก เพียงแค่ขอให้ปรับชีวิตคน และเพิ่มคุณค่าให้กับคนในเมืองได้ อย่าไปยึดติดกับอินโนเวชัน ที่เป็นเทคโนโลยี

รวมทั้งที่ผ่านมาพบว่ามีเทคโนโลยีหลายอย่างที่ไม่ได้มาจากอินโนเวชัน และหากพูดถึงความยั่งยืน คือ การไม่เบียดเบียนทรัพยากรของคนรุ่นใหม่ในอนาคตเพื่อตอบโจทย์ปัจจุบัน

“อย่าไปตอบสนองความต้องการในปัจจุบันโดยใช้ทรัพยากรในอนาคตของคนรุ่นใหม่ ซึ่งปัจจุบันปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมาแล้ว เห็นได้ชัดจากปรากฏการณ์เอลนีโญ”‘ชัชชาติ’ ชี้ นวัตกรรมเปลี่ยน กทม. สู่ Net Zero

สำหรับสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของกรุงเทพฯ มาจาก  3 ส่วน คือ

1 การใช้พลังงาน คิดเป็น 58.9%

2 การขนส่ง คิดเป็น 28.9%

3 น้ำเสียและมูลฝอย คิดเป็น 12.3%

ทั้งนี้ เป้าหมายของ กทม.ที่วางไว้คือ ต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งเป้าให้การปล่อยสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero)ให้ได้ราว 19% ภายในปี 2573 แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย โดยหากเป็นบริษัทขนาดใหญ่ก็ทำได้ไม่ยากนัก เพราะมีเทคโนโลยี มีเงินทุน

ขณะที่กลุ่มเอสเอ็มอีไม่มีเงินลงทุน และก็ไม่สนใจ  เพราะเอสเอ็มอีสนใจเพียงว่าธุรกิจของเขาจะรอดไหมในเศรษฐกิจแบบนี้ ดังนั้นจึงบอกว่าเอาแค่ลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 3% ต่อปี ก็น่าเพียงพอแล้ว ซึ่งเป้าหมายตรงนี้ทำได้แน่’ชัชชาติ’ ชี้ นวัตกรรมเปลี่ยน กทม. สู่ Net Zero

ทั้งนี้การทำ Net zero ของ กทม.ได้กำหนดแผนการทำ 3 เรื่อง CRO คือ Calculate Reduce Offset  ประกอบด้วย

1 Calculate คำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในหน่วยงานของ กทม. โดยร่วมกับองค์การบริหารจัดการลดก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และเริ่มใน 3 เขตก่อน คือ เขตดินแดง เขตบางขุนเทียน เขตประเวศ

2 Reduce ลดก๊าซเรือนกระจก คือทำให้เมืองเดินได้ ปรับโครงสร้าง เพื่อสนับสนุนการใช้รถโดยสารสาธารณะ โดยไม่ต้องใช้รถยนต์ ใช้รถไฟฟ้า หรือปั่นจักรยาน ทำทางเท้าเพิ่ม

สำหรับสิ่งเหล่านี้ไม่ต้องใช้เทคโนโลยีแค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประชาชน การส่งเสริมอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน เช่น การติดตั้งหลอดไฟแอลอีดี LED ประมาณ 100,000 ดวง ซึ่งลดการใช้พลังงานไฟฟ้าลงและการขจัดน้ำเสีย โดยการเติมออกซิเจนลงไป

รวมถึงการแยกขยะที่ภายใน 1 ปี สามารถลดขยะได้ 300-700 ตันต่อตัน การส่งเสริมการขนส่ง และคมนาคมสะอาด เช่น การเปลี่ยนเป็นยานพาหนะต่างๆ ให้เป็นระบบไฟฟ้า EV หรืออย่างน้อยเป็น hybrid การเพิ่มการติดตั้งที่ชาร์จ EV หรือจุดแลกแบตเตอรี่ ในพื้นที่ของ กทม.การปรับผังเมืองให้ เป็นต้น

3 Offset การส่งเสริมโครงการที่เก็บกักหรือดูดซับก๊าซเรือนกระจกที่เหลืออยู่ ผ่านการส่งเสริมโครงการที่เก็บกัก หรือดูดซับก๊าซเรือนกระจกโดยวิธีทางธรรมชาติ เช่น การเพิ่มพื้นที่สีเขียว  ซึ่ง กทม.มีนโยบายปลูกต้นไม้  1 ล้านต้นปลูกไปแล้ว 420,000 ต้น เพิ่มสวนใกล้บ้าน

“คนกรุงเทพฯ 10 ล้านคนไม่สามารถใช้เทคโนโลยีได้ทุกคน แต่นวัตกรรมสามารถเปลี่ยนเมือง ตอบโจทย์ได้แก้ปัญหา Climate Change ได้ และนวัตกรรมไม่จำเป็นต้องเป็นเทคโนโลยีทันสมัย แต่จะเป็นคำตอบที่ช่วยเพิ่ม Value ให้กับคน โดยเอาคนเป็นที่ตั้งเทคโนโลยีเป็นส่วนประกอบ ต้องมีความสนับสนุนกันทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาควิชาการ ประชาชน และเอกชน ” ชัชชาติ กล่าว

แหล่งข้อมูล

https://www.bangkokbiznews.com/environment/1075870


Smart City Thailand : 02 054 7755
Contact us : thunya.b@gmail.com | thunya@securitysystems.in.th

© smartcitythailand 11 โกสุมรวมใจ ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร 10210