ปักกิ่ง, 3 มี.ค. (ซินหัว) – เมื่อไม่นานมานี้ นักอุตุนิยมวิทยาอาวุโสของจีนเปิดเผยว่าจีนวางแผนส่งดาวเทียมดวงใหม่ ซึ่งติดตั้งเทคโนโลยีตรวจจับและวัดระยะด้วยแสงหรือไลดาร์ (LiDAR) เพื่อเฝ้าติดตามก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในชั้นบรรยากาศโลก
จางซิงอิ๋ง นักวิจัยอาวุโสจากศูนย์อุตุนิยมวิทยาดาวเทียมแห่งชาติจีน (NSMC) ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวซินหัวว่าดาวเทียมดวงใหม่จะถูกส่งสู่อวกาศในเดือรมิถุนายนนี้ และถือเป็นดาวเทียมตรวจจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ใช้เทคโนโลยีไลดาร์ดวงแรกของโลก
จางกล่าวว่าจีนส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรรอบโลกเพื่อเฝ้าติดตามและศึกษาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว 3 ดวงเมื่อนับตั้งแต่ปี 2016 โดยดาวเทียมเหล่านั้นใช้เทคโนโลยีสำรวจระยะไกลเชิงรับ
“การประยุกต์ใช้ดาวเทียมเพื่อเฝ้าติดตามและศึกษาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไม่พียงแต่จะสร้างประโยชน์ให้จีนแต่ยังสร้างประโยชน์ให้ทั่วโลก เนื่องจากช่วยสนับสนุนการปกป้องโลกของเรา” จางกล่าว
ทั้งนี้ จีนจะสร้างกลุ่มดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาสำหรับเฝ้าติดตามคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะ 5 ปี ฉบับที่ 14 (2021-2025) ท่ามกลางความพยายามของประเทศในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึงจุดสูงสุดก่อนปี 2030 และบรรลุการปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ก่อนปี 2060