“ไม่คุ้ม – ไม่แน่นอน” จุดอ่อน พลังงานทดแทนแก้ไขรับกติกาใหม่

Loading

พลังงานได้หล่อเลี้ยงเศรษฐกิจไทยด้วยเชื้อเพลิงในรูปแบบต่างๆแต่ส่วนใหญ่ยังเป็นพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งมีข้อจำกัดทั้งด้านราคาที่มีแนวโน้มสูงต่อเนื่องและยังมีแนวโน้มที่จะหมดสิ้นไป ดังนั้นบทบาทของพลังงานทดแทนจึงมีความสำคัญมากขึ้น

เมื่อรวมกับปัจจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(Climate Change) จึงเกิดกติกาใหม่โดยการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ(FDI)และพันธมิตรทางการค้าต่างๆ ได้เพิ่มข้อเรียกร้องด้านความเป็นกลางทางคาร์บอน(Carbon Neutrality)ทำให้หน่วยงานด้านพลังงานต้องเร่งปรับตัวเพื่อตอบรับข้อเรียกร้องใหม่นี้

คมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กล่าวว่า การใช้พลังงานทดแทนสามารถลดการปล่อยคาร์บอน และการประหยัดพลังงานได้อย่างยั่งยืน ในปัจจุบันหลังงานหมุนเวียนเริ่มเข้ามามีบทบาทในไทยมากขึ้นโดยสัดส่วนพลังงานทดแทนในประเทศไทยต่อการผลิตกระแสไฟฟ้า 11 % ของหน่วยที่ผลิตที่อยู่ในระบบ

อย่างไรก็ตาม ความเป็นไปได้ที่ไทยจะได้ใช้พลังงานทดแทนอย่างเต็มรูปแบบ 100% ยังไม่คุ้มค่า และมีความยากเพราะต้องพึ่งพาธรรมชาติซึ่งยังมีความไม่แน่นอน และยังไม่สามารถผลิตได้ทันต่อความต้องการใช้พลังงาน ดังนั้น ยังคงต้องมีพลังงานหลักไว้อยู่

“ในอนาคตมีเทคโนโลยีในการผลิตจัดเก็บกระแสไฟฟ้ามากขึ้น และประเทศไทยที่มีความพร้อมเรื่องพลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ประกอบกับด้านการคมนาคมขนส่งที่จะมีความคล่องตัว ซึ่งจะช่วยสร้างเครือข่าย( Net-work) พลังงานหมุนเวียนให้มีความพร้อมและราคาที่ถูกลง”

คมกฤช กล่าวอีกว่า ในอนาคตมีโอกาสที่จะใช้พลังงานทดแทนผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 50% จากพลังงานทั้งหมด โดย กกพ. ได้มีเป้าหมายการดำเนินงานเพื่อสิ่งแวดล้อมคือ Low Carbon Economy and Society ได้แก่

1.กำกับการประกอบกิจการพลังงานให้มีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

2.ปกป้องสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้พลังงาน ชุมชนท้องถิ่น ประชาชน และผู้รับใบอนุญาต ในการมีส่วนร่วม เข้าถึง ใช้ และจัดการด้านพลังงาน ภายใต้หลักเกณฑ์ที่ให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย

ส่วนข้อเรียกร้องของ FDI เบื้องต้นยังไม่มีผลในเรื่องของพลังงานทดแทนมากนั้น แต่กติกาด้านการค้าเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอนจะเน้นไปในเรื่องการขอใบอนุญาตการรับรองความสามารถการลดคาร์บอนเครดิตแบบข้ามประเทศได้มากกว่า

แม้เงื่อนไขด้านพลังงานหมุนเวียนในแวดวงธุรกิจจะยังไม่ชัดเจนมากพอแต่ในอนาคตแผนพลังงานของประเทศไทย ต้องสามารถตอบโจทย์ด้านการค้า และการลงทุนโลกให้ได้

แหล่งข้อมูล

https://www.bangkokbiznews.com/environment/1051607


Smart City Thailand : 02 054 7755
Contact us : thunya.b@gmail.com | thunya@securitysystems.in.th

© smartcitythailand 11 โกสุมรวมใจ ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร 10210