Virgin เผยถึงศักยภาพของ Hyperloop รถพลังแม่เหล็กไฟฟ้าที่เร็วกว่าเครื่องบิน

Loading

ส่วนยานพาหนะที่ใช้ขนส่ง เป็นพอตแคปซูล รูปทรงหัวกระสุน ที่สามารถจุผู้โดยสารได้ คันละ 28 คน

ถ้าถามว่าเวลา 43 นาที ที่ใช้การเดินทางจากเมือง Los Angeles ไปถึงเมือง San Francisco รวดเร็วมากขนาดไหน ?

ลองเทียบกับการเดินทาง ในรูปแบบอื่นๆ

  • หากนั่งรถไฟธรรมดา (รวมเวลาเปลี่ยนสายสถานีและแวะจุดพัก) 11 ชั่วโมง
  • หากนั่งรถประจำทาง 7 ชั่วโมง
  • หากขับรถด้วยตัวเองเฉลี่ย 6 ชั่วโมง
  • เดินทางโดยเครื่องบินโดยสาร 1 ชั่วโมง

ซึ่งถ้าโปรเจกต์ทำเสร็จขึ้นมาจริงๆ เท่ากับว่า รถแม่เหล็กไฟฟ้าความเร็วสูงนี้ ขับเคลื่อนด้วยความเร็วที่มากกว่าเครื่องบิน และอยู่บนบก

โดยบริษัท Virgin Group วางแผนที่จะเปิดตัวการเดินทางด้วย Hyperloop ภายในปี 2030

อธิบายเพิ่มเติมให้เห็นภาพง่ายๆ เกี่ยวกับลักษณะการทำงานของ Hyperloop ดังนี้

  • เป็นรถไฟความเร็วสูงที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำสนามแม่เหล็ก และเกิดขึ้นระหว่างรางกับขบวนโดยสาร ซึ่งจะมีขั้วแม่เหล็กติดไว้ที่ราง
  • ส่วนขบวนที่ใช้ในการขนส่งนั้น จะมีรูปร่างที่เรียกว่า พอต (Pod)
  • การเคลื่อนที่นั้น ตัวขบวนพอต จะมีลักษณะขับเคลื่อนด้วยการลอยอยู่เหนือพื้นรางแม่เหล็ก ภายในท่อสุญญากาศ
  • ใช้หลักการของ แรงแม่เหล็ก (Magnetic Levitation) โดยที่ตัวพอตนั้น จะไม่สัมผัสกับส่วนใดๆ ภายในท่อเลย
  • ความเร็วสูงสุด จากผลการทดลองของ Virgin Group ประกาศออกมาอยู่ที่ 670 กิโลเมตร/ชั่วโมง

ต่อมาคือเรื่องของค่าตั๋วโดยสาร ที่หลายๆ คน อาจคิดว่า น่าจะต้องแพงแน่นอน

โดย Virgin Group ได้เผยว่า พวกเขาไม่ได้ต้องการเก็งกำไร ด้วยการขายตั๋วราคาสูง แต่กำลังวางแผนที่จะกำหนดค่าตั๋ว ไม่ให้แพงเกินไปกว่าค่าน้ำมันของรถยนต์หากผู้โดยสารเดินทางจากสถานที่นั้นๆ

อย่างไรก็ดี นี้ไม่ใช่การเปิดตัวครั้งแรกของโปรเจกต์นี้

โดยบริษัท Virgin ได้ทำการทดสอบระบบขนส่ง Hyperloop  และเปิดเผยตัวแคปซูลขนส่งครั้งแรก เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2020 ด้วยการเชิญผู้โดยสาร 2 คน ให้มาลองใช้บริการนั่งในแคปซูล ให้วิ่งไหลผ่านท่อในระยะทาง 500 เมตร ที่สถานี DevLoop ในรัฐเนวาดา สหรัฐอเมริกา

สิ่งที่น่าจับตามองต่อมาคือ โปรเจกต์ Hyperloop หรือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการขนส่งด้วยความเร็วสูงในท่อสุญญากาศนี้ อาจไม่ได้มีแค่ Virgin Group เจ้าเดียวที่เข้ามาเล่นในตลาด แต่ยังมี The Boring Company ของอีลอน มัสก์ อีกราย ที่ถึงแม้ว่าจะล้มเลิกความคิดเกี่ยวกับ Hyperloop ไปแล้ว แต่ว่า อีลอน มัสก์ ได้นำเทคโนโลยีการขนส่งความเร็วสูงแบบนี้ ไปประยุกต์ใช้กับอย่างอื่นแทน  เช่น การขนส่งตู้คอนเทนเนอร์, การทำงานของ Loop คู่กับรถยนต์ไฟฟ้า Tesla หรือ แม้กระทั่งเป็นอุโมงค์สำหรับคนเดิน หรือ ปั่นจักรยาน ที่ตัดทะลุใต้พื้นดิน ไปสู่จุดหมาย

ถ้ามองย้อนกลับไปเมื่อ 50 กว่าปีก่อน ก็จะมีเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งความเร็วสูงอย่าง “รถไฟหัวกระสุนชิงกันเซ็ง”

แต่ในอนาคตในอีก 10 ปีข้างหน้า โลกแห่งการเดินทาง คงจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ทั้ง Hyperloop, รถยนต์ไร้คนขับ, การใช้จรวดเดินทางท่องไปในอวกาศ และยานพานะในจินตนาการอื่นๆ ที่มนุษย์จะสามารถสร้างสรรค์ออกมาได้..

อ้างอิง :

https://www.foxbusiness.com/lifestyle/virgin-hyperloop-reveals-passenger-experience

https://virginhyperloop.com/

https://www.knocksense.com/mumbai/first-trial-success-for-virgin-hyperloop-mumbai-pune-in-25-minutes-not-a-distant-dream-anymore

https://lifestyle.livemint.com/smart-living/innovation/virgin-hyperloop-conducts-first-passenger-ride-on-a-new-high-speed-transport-system-111604896440747.html

http://www.thaiphysoc.org/article/286

แหล่งข้อมูล
https://www.blockdit.com/articles/601bbe9e09584d08204667e2?fbclid=IwAR1v7PrjJq3o8RMztV05WaLNNnOJ8oVFjpz7zWLcRHsaBoi3JkxesAXC3Nw


Smart City Thailand : 02 054 7755
Contact us : thunya.b@gmail.com | thunya@securitysystems.in.th

© smartcitythailand 11 โกสุมรวมใจ ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร 10210