Toshiba นำร่องผลิต “ผ้าม่านโซลาร์เซลล์” รายแรกของโลก!

Loading

นับตั้งแต่ Gustav Rose นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมนี ได้คิดค้น Perovskite Photovoltaic Cells หรือ Perovskite Solar Cells แปลว่า “โซลาร์เซลล์” (อุปกรณ์รับพลังงานแสงอาทิตย์) แบบอ่อนตัว ขึ้นในปี ค.ศ. 1839

วงการวิทยาศาสตร์พลังงาน ได้มีการพัฒนา-ต่อยอด Perovskite Solar Cells ที่ Gustav Rose ตั้งชื่อขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ Lev von Perovski นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย ผู้ค้นพบแร่ธาตุตั้งต้นที่นำมาสร้าง Solar Cells

มีการพัฒนา-ต่อยอด Perovskite Solar Cells เรื่อยมาในรอบเกือบ 200 ปี มาจนถึงปี ค.ศ. 2020 “เทพแห่งนวัตกรรม” คือประเทศ “ญี่ปุ่น” นำโดยบริษัท Toshiba ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าชั้นนำของโลก ได้ขอเป็นผู้นำร่อง

โดยพัฒนา-ต่อยอด นวัตกรรม Perovskite Photovoltaic Cells ของ Gustav Rose มาเป็น Perovskite Solar Cells ของ Toshiba นำเสนอ “โซลาร์เซลล์” (อุปกรณ์รับพลังงานแสงอาทิตย์) แบบอ่อนตัว เคลือบผิว “ผ้าม่าน”

Perovskite Solar Cell มีความพิเศษอยู่ที่ “ความบาง” และ “โปร่งใส” จนสามารถนำไป “เคลือบ” ลงบนวัตถุต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือ หลังคารถยนต์พลังงานไฟฟ้า (พลังงานแสงอาทิตย์) ตู้หยอดเหรียญอัตโนมัติต่างๆ

ผ้าม่านโซลาร์เซลล์

และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ผ้าม่าน” ซึ่งทีมนักวิจัยของ Toshiba นำโดย Kenji Todori ชี้ว่า Perovskite Solar Cell คือ “โซลาร์เซลล์แห่งอนาคต” ที่สามารถเคลือบลงไปบนวัสดุประเภทต่างๆ และจะนำมาทดแทน “โซลาร์เซลล์”

“ห้วงทศวรรษที่ผ่านมา Toshiba สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการแปลงพลังงานจาก “โซลาร์เซลล์” แบบ Perovskite ได้มากถึง 14.1% ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในโลก หากเทียบกับ “แผงโซลาร์เซลล์” ทั่วไป Kenji Todori  กระชุ่น

เรียกได้ว่า Toshiba สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการแปลงพลังงานจาก “โซลาร์เซลล์” แบบ Perovskite เพิ่มจาก “แผงโซลาร์เซลล์” ทั่วไป ได้มากกว่า 20% เลยทีเดียว Kenji Todori หัวหน้าทีมวิจัยของ Toshiba บอก

แม้ว่า ในขณะนี้ Perovskite Solar Cells ยังไม่แพร่หลายในปัจจุบัน จากปมปัญหาเกี่ยวกับ “ราคา” ซึ่งถือเป็นข้อจำกัดเดียวที่ยังทำให้มีการใช้งาน Perovskite Solar Cells ไม่มากในเชิงพาณิชย์ Kenji Todori กล่าว และว่า

“แต่หาก Toshiba สามารถพัฒนา Perovskite Solar Cells ให้มีราคาถูกลงได้ มันก็จะเป็นแหล่งพลังงานทางเลือกสำคัญอันหนึ่งในอนาคตอันใกล้ และสามารถตอบโจทย์ Zero Emission ของโลกได้อีกด้วย” Kenji Todori สรุป

หลังจาก Kenji Todori หัวหน้าทีมวิจัยของ Toshiba ได้ประกาศเปิดตัว Perovskite Solar Cells ชนิด “เคลือบผ้าม่าน” ออกไป ทีมนักวิจัยจาก Stanford University ได้ออกมารับลูก Perovskite Solar Cells โดยทันที

ทีมนักวิจัยจาก Stanford University กล่าวว่า หากสามารถปรับกระบวนการผลิต Perovskite Solar Cells ให้ดีขึ้นได้อีก ในอนาคตข้างหน้า ราคาเฉลี่ยค่าไฟฟ้าที่จะถูกลงไปประมาณ 2 Cent ต่อ Kilowatt ต่อชั่วโมงเลยทีเดียว

สอดคล้องกับ Tsutomu Miyasaka ศาสตราจารย์ด้านพลังงานจาก Toin University of Yokohama และเข้าชิงรางวัลโนเบลสาขาเคมี ที่กล่าวถึงแง่ดีเกี่ยวกับอนาคตของการวิจัยของญี่ปุ่นในสาขา Perovskite Solar Cells

“ญี่ปุ่นต้องก้าวข้าม Perovskite Solar Cells ของจีนให้ได้โดยเร็ว เพราะปัจจุบัน จีนมีนักวิจัยที่เชี่ยวชาญในเทคโนโลยีนี้อย่างน้อย 10,000 คนซึ่งมากกว่านักวิจัย Perovskite Solar Cells ของญี่ปุ่นถึง 10 เท่า”

อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นเองก็ไม่ได้มีแหล่งพลังงานทางเลือกใหม่ๆ เพียงแค่ Perovskite Solar Cells เท่านั้น เพราะยังมีการวิจัยพลังงานทางเลือกของ Kyuden Mirai Energy เกี่ยวกับพลังงานจากคลื่นทะเลอีกด้วยครับ

นักวิเคราะห์ของสำนักข่าว Nikkei ระบุว่า ภูมิประเทศของญี่ปุ่นเป็นหมู่เกาะ แหล่งพลังงานจากคลื่นทะเลจึงเป็นสิ่งที่ญี่ปุ่นมีอยู่อย่างเหลือเฟือ และมีตลอดเวลา ไม่น้อยหน้า Perovskite Solar Cells ของ Toshiba แต่อย่างใด

อย่างไรก็ดี มีการคาดการณ์ว่า ความต้องการไฟฟ้าทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าภายในปี ค.ศ. 2050 โดยประเทศต่างๆ ก็จะแข่งขันกันเพื่อตอบโจทย์ Zero Emission ของโลก หรือ “โลกไร้คาร์บอน” ดังนั้น Toshiba จึงมาถูกทางแล้วครับ!

เพราะมีการคาดการณ์กันว่า Project ของ Toshiba คือ Perovskite Solar Cells ของ Toshiba หรือ “โซลาร์เซลล์” (อุปกรณ์รับพลังงานแสงอาทิตย์) แบบอ่อนตัว เคลือบผิว “ผ้าม่าน” เพราะ “ผ้าม่าน” นั้น “รับแดด” อยู่เสมอ

Project ของ Toshiba คือ Perovskite Solar Cells ของ Toshiba นี้ จะมีส่วนช่วยให้ญี่ปุ่นสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าทางเลือก หรือพลังงานทดแทน เทียบได้เท่ากับเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์มากถึง 20 เครื่องเลยทีเดียวครับ!

แหล่งข้อมูล
https://www.salika.co/2021/03/02/toshiba-solar-panel-curtain/


Smart City Thailand : 02 054 7755
Contact us : thunya.b@gmail.com | thunya@securitysystems.in.th

© smartcitythailand 11 โกสุมรวมใจ ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร 10210