OTT กับการ disrupt TV ไทย

Loading

OTT หรือ Over-the-top คือการให้บริการเนื้อหาเช่น ภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ ผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต และ OTT TV (Over-the-top TV) หมายถึง การให้บริการเนื้อหาจากสื่อรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ วีดิโอ ผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น YouTube, Line TV หรือ Netflix iflex Wetv Viu Line TV เป็นต้น

OTT TV เรียกได้ว่าเป็นบริการที่ทำให้สามารถรับชม ภาพยนต์ ซีรีย์ หรือเนื้อหาต่างๆผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งการให้บริการ OTT มีความยืดหยุ่นสำหรับผู้ใช้บริการสามารถรับชมเนื้อหาต่างๆได้ตามความต้องการ จะสามารถเลือกรับชมอะไร ที่ไหนก็ได้ขอเพียงแค่ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ แถมยังไม่ต้องติดตั้งอุปกรณ์เสริม สำหรับผู้ให้บริการแพลตฟอร์มจะสามารถรับรู้รายได้จากการโฆษณาบนแพลตฟอร์มของตนเอง เช่น Facebook YouTube ซึ่งปัจจุบันเม็ดเงินค่าโฆษณาใน OTT พุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ

ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา บริการ OTT (Over the Top) หรือ บริการส่งผ่านข้อมูลในรูปข้อความ เสียง หรือภาพ ผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต ที่ให้เราสามารถรับชมภาพยนตร์ ซีรีย์ และ Content ต่างๆ โดยที่ผู้ให้บริการ OTT ไม่มีการลงทุนหรือเป็นเจ้าของโครงข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยตนเอง กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าความสะดวกสบายและความทันสมัยที่เกิดขึ้นจากบริการ OTT ได้เข้ามาทลายข้อจำกัดของการรับชมคอนเทนต์แบบดั้งเดิมผ่านหน้าจอโทรทัศน์ ไม่ว่าจะเป็นข้อจำกัดด้านเวลาการออกอากาศ และผังรายการ ข้อจำกัดด้านความคมชัดของภาพ หรือแม้กระทั่งข้อจำกัดด้านสถานที่ เป็นต้น โดยสามารถจำแนกบริการ OTT ได้เป็น 3 รูปแบบหลัก ดังนี้

AVOD (Advertising Based Video on Demand) คือผู้ให้บริการจะไม่เรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการ แต่จะคิดค่าบริการจากเจ้าของสินค้าหรือจากบริษัทโฆษณา (Advertising/Media Agency) เช่น YouTube Facebook และ Line TV เป็นต้น

SVOD (Subscription Video on Demand) คือผู้ให้บริการเรียกเก็บค่าสมาชิกแบบรายเดือนหรือรายปีจากสมาชิกผู้ใช้บริการ โดยสมาชิกสามารถรับชมเนื้อหารายการบน OTT ได้อย่างไม่จำกัดตลอดระยะเวลาที่เป็นสมาชิก เช่น Netflix และ Primetime เป็นต้น

TVOD (Transaction Video on Demand) คือการเช่าซื้อ หรือการขายขาดคอนเทนต์ เช่น iTune distrify vimeo ซึ่ง TVOD แบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อย ได้แก่

  • การคิดค่าบริการต่อครั้งที่รับชม (Pay-per-view) ผู้ใช้บริการสามารถเลือกคอนเทนต์เพื่อรับชมในเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น หรือ เรียกว่า Download to Rent
  • การคิดค่าบริการโดยการดาวน์โหลดคอนเทนต์มาเก็บไว้ ผู้ซื้อสามารถรับชมคอนเทนต์กี่ครั้งและในเวลาใดก็ได้ หรือเรียกว่า Electronic Sell Through (EST)
OTT ไทยเติบโตอย่างไร

ในปี 2564 OTT ยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมาตรการการควบคุมการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัส (Covid-19) โดยลดการเดินทาง ให้มีการทำงานที่บ้าน (Work From Home) รวมถึงการปิดสถานที่ให้บริการด้านความบันเทิงต่างๆ เช่น โรงภาพยนตร์ เป็นต้น ทำให้พฤติกรรมของคนในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนหันมาเสพคอนเทนต์ออนไลน์ โดยเฉพาะสื่อบันเทิงต่างๆ เพื่อผ่อนคลายความเครียด ส่งผลให้บริการ OTT เป็นช่องทางการรับชมคอนเทนต์ที่ถูกเลือกใช้งาน เนื่องจากสามารถรับชมคอนเทนต์ในเวลาใดจากที่ใดก็ได้ เพียงผ่านอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้เท่านั้น

รายงาน Digital Stat 2021 จาก We Are Social พบว่า คนไทยร้อยละ 99 ชอบดูวิดีโอออนไลน์ และร้อยละ 69 อยู่บนโลกออนไลน์เรียบร้อยแล้ว โดยมีพฤติกรรมการใช้งานเพื่อความบันเทิงต่าง ๆ เช่น การฟังเพลง การใช้งานโซเซียลมีเดีย เล่นเกม และอัดคลิปวิดีโอ

เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเริ่มเปลี่ยนไปเป็นช่องทางออนไลน์ การดูทีวีแบบเก่าจะค่อยๆหมดไป

เมื่อผู้บริโภคมีพฤติกรรมการรับชมคอนเทนต์ที่เปลี่ยนไปจากเดิม เช่นการรับชมคอนเทนต์ต่างๆ รายการทีวีย้อนหลัง ภาพยนตร์ที่สามารถรับชมได้ทุกที่ ทุกเวลา ตามต้องการ จึงส่งผลให้การดูทีวีในอนาคตอาจเปลี่ยนไป สถานีโทรทัศน์จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตัวเองให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง แต่อย่างไรก็ตามสถานีโทรทัศน์ต่างๆ ก็ยังคงอยู่ในฐานะเป็นผู้ผลิตเนื้อหา และเนื้อหาอาจต้องถูกส่งมายังแพลตฟอร์มการรับชมที่ไม่ใช่ช่องทางเดียว เป็นแพลตฟอร์มที่อยู่ในหลายช่องทางนั่นเอง ผู้ให้บริการทีวีปัจจุบันจะเห็นได้ว่าผู้ให้บริการรายใหญ่เริ่มมีการปรับตัว โดยเริ่มมีการทำแพลตฟอร์ม ที่เป็นของตัวเองเพื่อรองรับคอนเทนต์ที่ให้บริการถึงแม้ว่าจะยังไม่ได้รายได้จากแพลตฟอร์ม นั้นมากนัก แต่อย่างไรก็ตามคอนเทนต์ที่น่าสนใจ เป็นปัจจัยหลักที่จะทำให้ผู้บริโภคสนใจเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

ผลกระทบที่เกิดกับอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์

OTT จะมีผลกระทบโดยตรงเลยกับอุตสาหกรรมแอนิเมชันโดยเกิดจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ส่งผลกับผู้ให้บริการโทรทัศน์โดยตรงกับการจัดผังรายการที่ในปัจจุบันผู้ให้บริการหลายรายได้มีการถอดช่วงที่เป็นการฉายแอนิเมชัน เนื้อจากมูลค่าของ TV Rating ในช่วงนั้นๆ มีแนวโน้มที่จะมีผู้เข้ามาซื้อ Air time โฆษณาน้อยลง เนื่องจากในปัจจุบันกลุ่มผู้ชมที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กได้ย้ายไปรับชม Content เหล่านี้ บนระบบ OTT แทน เพราะสามารถรับชมได้ตลอดเวลาและสามารถรับชมได้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลกับผู้ประกอบธุรกิจ Home entertainment โดยผู้บริโภคในกลุ่มนี้ที่เคยมีอยู่ได้ย้ายไปใช้บริการ OTT เนื่องจากมีความสะดวก มีความยืดหยุ่นของเวลาในการรับชมที่สามารถรับชมได้ทุกสถานที่ตลอดเวลา อีกทั้งอุปกรณ์เครื่องเล่นก็ใช้เพียงแค่ Smart phone หรือ Tablet ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทุกคนในปัจจุบันใช้งานอยู่ในชีวิตประจำวัน

ผลกระทบต่อการแข่งขันที่กับความหลากหลายของเนื้อหา

ความเสรีของการจัดทำเนื้อหาของคอนเทนต์มากขึ้น ดังนั้นผู้ผลิตคอนเทนต์สำหรับ OTT จะมีความเสรีทางความคิดเนื้อหามากขึ้น เพราะช่องทางการเผยแพร่มีมากขึ้น และผู้ที่เป็นเจ้าของคอนเทนต์ที่มีคุณภาพก็สามารถมีสิทธิ์ต่อรองกับผู้ให้บริการช่องการการเผยแพร่ได้มากขึ้น

ความได้เปรียบของผู้ให้บริการ OTT มีความได้เปรียบมากกว่าผู้ให้บริการในช่องทางเดิม และไม่ถูกการกำกับดูแลที่เข้มงวดเช่นเดียวกับผู้ให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้น รวมถึงยังไม่ต้องเสียค่าใบอนุญาต ไม่ต้องเสียค่าโครงข่ายอีกด้วย

แหล่งข้อมูล

https://www.depa.or.th/th/article-view/ott-disrupt-tv


Smart City Thailand : 02 054 7755
Contact us : thunya.b@gmail.com | thunya@securitysystems.in.th

© smartcitythailand 11 โกสุมรวมใจ ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร 10210