JUMP THAILAND เตรียมจัด ‘Online Hackathon’ เปิดโหวตเรื่องแย่ๆ แล้วให้มาลองแก้ปัญหาแบบสตาร์ทอัพ

Loading

กระแส Digital Disruption ที่ยังคุกรุ่น COVID-19 ก็ยังไม่จากเราไปไหน คำถามคือ ถ้าสถานการณ์ต่างๆ ในปีที่ผ่านมา วนกลับมาให้เราต้องเผชิญอีกครั้ง หรือตกอยู่ในความเสี่ยง หรือปะทะกับภัยพิบัติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คุณจะทำอย่างไร?

มีปัญหาก็ยิ่งต้องค้นหา ‘โซลูชั่นส์’

อราคิน รักษ์จิตตาโภค หัวหน้าฝ่ายขับเคลื่อนนวัตกรรม เอไอเอส เกริ่นถึงปัญหารอบโลกในหลายประเด็น

“ปัญหาสภาวะโลกร้อน การขาดแคลนทรัพยากร การเปลี่ยนแปลงอำนาจทางเศรษฐกิจ ความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กระตุ้นให้มนุษย์เร่งนำเทคโนโลยีที่มีอยู่มาแก้ปัญหาแทบทุกรูปแบบ เพื่อตอบโจทย์วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปในยุคนิวนอร์มัล”

จากนั้นแยกตัวอย่างปัญหาที่ส่งผลกระทบในวงกว้างมาถึงชีวิตของเราทุกคนในวันนี้ รวม 6 หัวข้อที่ต้องร่วมกันแก้ไขอย่างเร่งด่วน

ตัวอย่างปัญหาระดับ Global

1. สิ่งแวดล้อม : PM 2.5 / ไมโครพลาสติก / ขยะพลาสติก / มลภาวะ / ภาวะโลกร้อน

2. สุขภาพและบริการด้านสาธารณสุข : การแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 / โอกาสการเข้าถึงการรักษา / การบริการทางการแพทย์ / ราคาค่ารักษา

3. การศึกษา : ความเท่าเทียม / รายได้ / คุณภาพบุคคลากรผู้สอน / ระบบโครงสร้างพื้นฐาน

4. สภาพเศรษฐกิจและสังคม : อัตราการว่างงาน / การจ้างงาน / ค่าครองชีพสูง / แรงงานต่างด้าว / ยาเสพติด

5. การคมนาคมขนส่ง : การเข้าถึงการขนส่งสาธารณะ / คุณภาพการบริการ/ ราคา / รถติด

6. สวัสดิภาพความปลอดภัยและคุณภาพชีวิต : ไฟส่องสว่างทางเดิน / ยาเสพติด / คอร์รัปชั่น

“เชื่อว่าเราต่างเห็นตรงกันถึงปัญหาเร่งด่วนดังกล่าวข้างต้น อย่างไรก็ตาม ยังมีเทรนด์ที่ท้าทายอีกหลายข้อซึ่งเกิดขึ้นท่ามกลางบริบทจากการมาถึงของดิจิทัล (Digital Disruption) ซึ่ง AIS NEXT ได้คัดสรรเทรนด์สำคัญที่จะส่งผลกระทบทั้งในระดับบุคคล, องค์กร และประเทศ มาไว้ เพื่อย้ำเตือนให้เห็นถึงความท้าทายและการเตรียมความพร้อมรับมือพร้อมเปลี่ยนความท้าทายมาเป็นโอกาสสำหรับการก้าวกระโดดไปข้างหน้า”

เทรนด์ที่หัวหน้าฝ่ายขับเคลื่อนนวัตกรรม เอไอเอส กล่าวถึง ประกอบด้วย

1. Digital Identity Foundation Initiative

ภาพรวมของความเป็นตัวตนของตัวบุคคลในแพลตฟอร์มต่างๆ ความเป็นเจ้าของของตัวตน และความง่ายในการอนุญาติ รวมทั้งการควบคุมความเป็นตัวตนในยุคดิจิทัล ภายใต้การควบคุมของหน่วยงานราชการไทย

2. Digital Archive & Intelligence Initiative

การเก็บข้อมูลด้วยเซ็นเซอร์และอุปกรณ์ไอโอที การนำเอาข้อมูลไปเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่องเพื่อการสร้างข้อมูลเชิงลึก รวมถึงรากฐานของการจัดเก็บกระบวนการในกลุ่มเมฆเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในสากล

3. Phygital Exchange Market Initiative

การรวมกันของสิ่งของในโลกความเป็นจริงและโลกเสมือน การสร้างและควบคุมตลาดซื้อขายระหว่างสินทรัพย์ดิจิทัลและสินทรัพย์จริง และการสร้างการระบบการจัดเก็บข้อมูลดิจิทัล ระหว่างสินทรัพย์ในโลกจริงและโลกเสมือนที่เป็นรากฐานให้กับประเทศไทย

4. Future Workforce Platform Initiative

ภาพรวมของความสามารถและสกิลของกลุ่มคนในสังคมต่างๆจากภาวะสังคมผู้สูงอายุ การแยกกันทางวิชาความรู้ระหว่างกลุ่มดิจิทัลโดยกำเนิด (Digital Natives) และกลุ่มผู้อพยพทางดิจิทัล (Digital Immigrants) เทรนด์ของการเรียนรู้แบบทีละเล็กละน้อย (Micro-Learning) หลักการเรียน และการอัพเดทความรู้ในยุคดิจิทัล รวมทั้งโครงสร้างของสังคมการทำงานแบบฟรีแลนซ์ของไทย

5. Digital Police Initiative

การบังคับใช้กฎหมายในโลกดิจิทัลในประเทศไทย รวมถึงการใช้กฎหมายดิจิทัลกับโลกของอุปกรณ์ไอโอทีในยุค 5G ความปลอดภัยและอาชญากรรมไซเบอร์ที่ควรระวัง

“จากปัญหาและวิกฤตรอบตัวที่เกิดขึ้น รวมถึงเทรนด์แห่งความท้าทายดังกล่าว เราเชื่อมั่นว่า หากคนไทยรวมพลังกัน ระดมไอเดีย นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาใช้ จะสามารถหาทางออกและแก้ปัญหาได้ไม่มากก็น้อย”

ในฐานะผู้ให้บริการ Digital Life Service Provider ที่มี Digital Platform และ Network Infrastructures ไม่ว่าจะเป็น 5G, Fibre, IoT, Big Data, Cloud และ AI เอไอเอสจึงเดินหน้ารับฟังมุมมองปัญหาจากทุกคน และเป็นแกนกลางในการชวนคนไทยทั้งชาติ ทุกกลุ่ม มานำเสนอโซลูชั่นส์เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ให้ได้

“ไม่ว่าจะเป็น นักเรียน นิสิต นักศึกษา คณาจารย์ นักวิจัย นวัตกร ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขา มาร่วมระดมสรรพกำลัง ระดมความคิด สร้างสรรค์โซลูชันในการแก้ไขปัญหาสำคัญ ด้วยกระบวนการแบบสตาร์ทอัพ ที่มุ่งหาโซลูชั่นส์ในการแก้ Pain point พร้อมจัด Online Hackathon ครั้งแรกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย”  อราคินกล่าว

JUMP THAILAND เปิดทางให้กระโดดได้ไกลแค่ไหน?

ด้วยจุดมุ่งหมายของ JUMP THAILAND by AIS NEXT คือ ร่วมแก้ไขปัญหาของประเทศและช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน และปีนี้เป็นปีแรกที่มีการจัด Online Hackathon สำหรับคนที่สงสัยว่าจะเริ่มต้นอย่างไร มีผลิตภัณฑ์แล้วจะกระโดดไปได้ไกลแค่ไหน อ่านต่อด้านล่างนี้เลย

1. Problem Submission: ส่งโจทย์ปัญหาเพื่อโหวตหัวข้อที่ต้องการเห็นประเทศไทยเปลี่ยนแปลงได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 14 ก.พ. 2564 ที่เฟซุบ๊กเพจ: JumpThailand และเว็บไซต์ jumpthailand.earth

2. Team Registration: รับสมัครทีม ตั้งแต่วันที่ 15 ก.พ.- 15 มี.ค. 2564 ผ่านทางเฟซบุ๊กเพจ JumpThailand และเว็บไซต์ jumpthailand.earth และประกาศรายชื่อทีมที่ได้เข้าแข่งในวันที่ 27 มี.ค. 2564

3. Online Hackathon: ช่วงการแข่งขัน Hackathon ประมาณต้นเดือนพฤษภาคม

4. Incubation: ภายหลังจากโครงการจะมีการรับโครงการที่ผ่านเกณฑ์ เพื่อนำมาบ่มเพาะนวัตกรรมกับ AIS NEXT

ทีมที่เข้าร่วม JUMP THAILAND Online Hackathon ครั้งนี้ นอกจากมีโอกาสเข้าถึงกระบวนการทำงานและเทคโนโลยีของเอไอเอส อาทิ 5G, AI, Blockchain, Cloud, XR, Big Data ก็จะได้ใช้พื้นที่ AIS PLAYGROUND ทดลอง/ทดสอบนวัตกรรมต้นแบบบนเครือข่ายและสภาพแวดล้อมจริงแล้ว นอกจากนี้ ทีมผู้ชนะยังมีโอกาสได้รับเงินรางวัลสูงสุดรวมกว่า 1 ล้านบาท

“เรามี 5G IoT Blockchain ให้ทดลองสร้างนวัตกรรม จากนั้นพาไปออกตลาด แล้วเป็น One roof คือมาอยู่ภายใต้เรา เป็นพาร์ทเนอร์กับเรา ถ้าโตได้มากก็อาจจะช่วยสเกลให้โตได้อีก เพราะในโครงการ JUMPThailand เอไอเอสทุ่มงบลงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท”

สมบูรณ์ มาตรคำจันทร์ หัวหน้าแผนกงานพันธมิตร ด้านนวัตกรรมและดิจิทัล AIS NEXT กล่าวเสริมด้านโครงสร้างพื้นฐานที่เอเอไอสสร้างไว้รองรับทุกด้านของการใช้ชีวิต

“เรามีงบประมาณ มีเครื่องมือ พาร์ทเนอร์ชิพ ถ้าทีมไหนมีความสามารถที่จะโตได้ในทางธุรกิจ จะลองขายผ่านช่องทางของเราได้ รวมถึงผ่านเครือข่ายพันธมิตรก็ได้ โดยเอไอเอสจะช่วยทำโครงการให้อยู่ได้ด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น B2B B2C B2G B2B2C”

หลายปีมาแล้วที่เอไอเอสสนับสนุนการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรม และมีเกือบ 20 โครงการที่สมบูรณ์ มาตรคำจันทร์ บอกว่า พาออกตลาดแล้ว เช่น ประกัน สมาร์ทโฮม ออโตเมชั่น

แหล่งข้อมูล
https://www.salika.co/2021/01/28/jump-thailand-online-hackathon/


Smart City Thailand : 02 054 7755
Contact us : thunya.b@gmail.com | thunya@securitysystems.in.th

© smartcitythailand 11 โกสุมรวมใจ ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร 10210